Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67216
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวรรณฤดี เชาว์อยชัยen_US
dc.contributor.authorลินจง โปธิบาลen_US
dc.contributor.authorโรจนี จินตนาวัฒน์en_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:43:12Z-
dc.date.available2020-04-02T14:43:12Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 46, ฉบับพิเศษ (ธ.ค. 2562), 13-22en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/232468/158859en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67216-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractโรคมะเร็งเป็นโรคเรื้อรังที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ทั้งโรคและการรักษาโดยเฉพาะเคมีบำบัด สามารถก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกายแก่ผู้ป่วยที่มากกว่าวัยอื่น จึงอาจส่งผลต่อความผาสุกด้านจิตใจของผู้ป่วยที่แตกต่างจากวัยอื่นได้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความผาสุกด้านจิตใจ และความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว ความหวัง และการมองโลกในแง่ดี กับความผาสุกด้านจิตใจในผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยสูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่เป็นโรคมะเร็ง และมารับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ณ หอผู้ป่วยเคมีบำบัด โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จำนวน 80 ราย ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด เก็บข้อมูลโดยใช้แบบวัดความผาสุกด้านจิตใจ ของ Thawinwisarn (2007) ที่ดัดแปลงจากส่วนของการประเมินความผาสุกด้านจิตใจในแบบประเมินคุณภาพชีวิตของ Ferrell et al. (1995) แบบวัดการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว ของ Sawkhamkate (1998) ที่ดัดแปลงจากแบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม (PRQ 85-Part II) ของ Brandt & Weinert (1985) แบบวัดความหวัง ของ Sangkhamuneechinda (2011) ที่ดัดแปลงจากดัชนีความหวังของ Herth (1992) และแบบวัดการมองโลกในแง่ดี ของ Mahittanuphap (2012) ที่สร้างขึ้นตามแนวคิดของ Seligman (1988) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product-moment Correlation Coefficient) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด มีคะแนนความผาสุกด้านจิตใจ อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว ความหวัง และการมองโลกในแง่ดีอยู่ในระดับสูง การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว และการมองโลกในแง่ดี มีความสัมพันธ์ทางบวกกับ ความผาสุกด้านจิตใจในระดับปานกลาง (r = .423 และ .360 ตามลำดับ, p < .01) และความหวัง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผาสุกด้านจิตใจในระดับสูง (r = .716 , p < .01) ผลการวิจัยจะเป็นข้อมูลพื้นฐานที่พยาบาลสามารถใช้วางแผนการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมความผาสุกด้านจิตใจแก่ผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดได้ โดยการส่งเสริมให้เกิด การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว ความหวัง และการมองโลกในแง่ดีen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectความผาสุกด้านจิตใจen_US
dc.subjectผู้สูงอายุโรคมะเร็งen_US
dc.subjectยาเคมีบำบัดen_US
dc.subjectความหวังen_US
dc.subjectการมองโลกในแง่ดีen_US
dc.titleปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความผาสุกด้านจิตใจในผู้ป่วยสูงอายุ โรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดen_US
dc.title.alternativeFactors Related to Psychological Well-being in Older Patients with Cancer Receiving Chemotherapyen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.