Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67211
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอัศนัย เล่งอี้en_US
dc.contributor.authorอัมเรศ เทพมาen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:43:12Z-
dc.date.available2020-04-02T14:43:12Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationวารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 6,2 (ก.ค.-ธ.ค. 2562), 127-143en_US
dc.identifier.issn2351-0935en_US
dc.identifier.urihttps://so02.tci-thaijo.org/index.php/jed/article/view/160046/160591en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67211-
dc.descriptionวารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม เป็นวารสาร เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ๆในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการออกแบบสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อม เป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ในการเสนอผลงานทางวิชาการให้แก่ ผู้สนใจ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไป อันจะเป็นการเสริมความเข้มแข็งแก่วงวิชาการและวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมต่อไป วารสารวิชาการการออกแบบสิ่งแวดล้อมเริ่มต้นเผยแพร่เมื่อ พ.ศ.2557 ออกปีละฉบับมาจนถึงปัจจุบันen_US
dc.description.abstractบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างสัดส่วนผู้สูงอายุกับเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน มีวิธีการวิจัย และเครื่องมือในการเก็บข้อมูลด้วยการวัดสัดส่วนร่างกายผู้สูงอายุ ตัวอย่างกลุ่มประชากร จำนวน 53 คน และการสำรวจขนาดเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน กรณีศึกษาตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เพื่อนำผลมาเปรียบเทียบ เพื่อออกแบบกราฟิกระหว่างสัดส่วนผู้สูงอายุกับเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้านสำหรับ 3 ลักษณะท่าทางของผู้สูงอายุ คือ ท่ายืน ท่านั่ง และท่าเดิน ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุมีความสูงเฉลี่ย 146.84 เซนติเมตร และสูงจากพื้น-ข้อพับแนวเข่า (ด้านใน) เฉลี่ย 37.93 เซนติเมตร เมื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างสัดส่วนผู้สูงอายุกับเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน พบว่า การออกแบบเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้านเหมาะสมกับท่ายืนคือ อ่างล้างหน้า, เตาไฟแก๊ส ส่วนท่านั่งไม่เหมาะสมกับโถส้วมแบบนั่งยอง เก้าอี้แบบนั่งยองและตำแหน่งในการติดตั้งราวจับ กรณีท่าเดินไม่เหมาะสมกับราวจับบันไดและขั้นบันได งานวิจัยนี้เสนอแนะให้มีการปรับปรุงหรืองดการใช้เฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ในบ้านที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสำหรับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีขนาดเดียวกันทั้งประเทศ จึงไม่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ จึงควรพิจารณาปรับปรุงในการออกกฎกระทรวงฉบับใหม่ ซึ่งจะช่วยให้ผู้สูงอายุได้ใช้งานอย่างเหมาะสมปลอดภัยมากยิ่งขึ้นen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์en_US
dc.subjectสัดส่วนผู้สูงอายุen_US
dc.subjectเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ในบ้านen_US
dc.subjectกฎหมายอาคารen_US
dc.subjectการออกแบบเพื่อทุกคนen_US
dc.titleการใช้ความรู้เกี่ยวกับสัดส่วนผู้สูงอายุเพื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน: กรณีศึกษา ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยาen_US
dc.title.alternativeThe use of knowledge of the proportion of the elderly to compare the relationship between furniture and home accessories: case study of Maeka, Muang, Phayaoen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.