Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67210
Title: | สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นแบบเคลื่อนที่ของชาวเล: กรณีศึกษา ชาวมอแกนในหมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา และชาวอูรักลาโว้ยในบ้านโต๊ะบาหลิว เกาะลันตาใหญ่ จังหวัดกระบี่ |
Other Titles: | Sea nomads’ mobile vernacular architecture: case studies of Moken ethnic group in Mu ko Surin, Phangnga province and Urak Lawoi ethnic group in Baan To - Baliew, ko Lanta Yai, Krabi province |
Authors: | อัมพิกา อำลอย วีระ อินพันทัง |
Authors: | อัมพิกา อำลอย วีระ อินพันทัง |
Keywords: | ชาวมอแกน;ชาวอูรักลาโว้ย;การตั้งถิ่นฐานชั่วคราว;สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น;นิเวศวิทยาวัฒนธรรม |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Citation: | วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 6,2 (ก.ค.-ธ.ค. 2562), 3-19 |
Abstract: | บทความนี้มุ่งศึกษาลักษณะการตั้งถิ่นฐาน และการก่อรูปสถาปัตยกรรมของชาวเลในช่วงก่อนการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจากการเดินทางเร่ร่อนมาสู่การตั้งถิ่นฐานถาวร เป็นงานวิจัยภาคสนาม โดยเลือกทำการวิจัยในชาวเล 2 กลุ่ม คือ ชาวมอแกนในหมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา และชาวอูรักลาโว้ยในบ้านโต๊ะบาหลิวเกาะลันตาใหญ่ จังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นกลุ่มที่สามารถธำรงวัฒนธรรมดั้งเดิมไว้ได้เหนียวแน่น กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยการกำหนดคุณลักษณะขึ้นเพื่อเป็นบรรทัดฐานในการคัดเลือกผลการวิจัยค้นพบว่า วิถีชีวิตเร่ร่อนทางทะเลเป็นทางเลือกที่เหมาะสมของชาวเลในช่วงเวลาหนึ่ง ความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติเป็นปัจจัยสำคัญที่ดึงดูดให้ชาวเลผู้ดำรงตนอยู่ในสังคมเก็บหาและล่าสัตว์เข้ามาอยู่อาศัย และทำมาหากินในเขตทะเลอันดามัน ชาวเลอาศัยอยู่ร่วมกับธรรมชาติในลักษณะพึ่งพา เน้นการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมมากกว่าการเข้าไปจัดการ เห็นได้จากแบบแผนการดำรงชีพที่หมุนเวียนไปตามสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ เมื่อชาวเลตัดสินใจปักหลักอยู่ ณ บริเวณใดบริเวณหนึ่ง จะจอดเรือ แล้วยกหลังคาเรือมาเสริมความแข็งแรงด้วยวัสดุที่หาได้ในละแวกถิ่นฐาน เพื่อดัดแปลงเป็นเพิงพัก เมื่อลมมรสุมได้ผ่านพ้นไปหรือความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารเริ่มลดลง จะออกเดินทางด้วยเรืออีกครั้ง ถือว่าเป็นการตั้งถิ่นฐานชั่วคราวเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ ขึ้นอยู่กับฤดูกาล โดยเฉพาะอิทธิพลของลมมรสุม ทั้งนี้เรือและเพิงพักของชาวเลถือว่าเป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นแบบเคลื่อนที่ ซึ่งได้รับการจัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองการอยู่อาศัยในชีวิตประจำวันให้รอดปลอดภัยและสะดวกสบายเพียงพอ สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นผลของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งที่มนุษย์สร้างและสิ่งแวดล้อม |
Description: | วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม เป็นวารสาร เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ๆในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการออกแบบสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อม เป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ในการเสนอผลงานทางวิชาการให้แก่ ผู้สนใจ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไป อันจะเป็นการเสริมความเข้มแข็งแก่วงวิชาการและวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมต่อไป วารสารวิชาการการออกแบบสิ่งแวดล้อมเริ่มต้นเผยแพร่เมื่อ พ.ศ.2557 ออกปีละฉบับมาจนถึงปัจจุบัน |
URI: | https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jed/article/view/194855/160511 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67210 |
ISSN: | 2351-0935 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.