Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67193
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพิมพ์วดี อาษาen_US
dc.contributor.authorคธาวุธ เตชะสุทธิรัฐen_US
dc.contributor.authorภัทรานันท์ มหาสันติปิยะen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:32:32Z-
dc.date.available2020-04-02T14:32:32Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่ทันตแพทยสาร 37,1 (ม.ค.-มิ.ย. 2560) 93-102en_US
dc.identifier.issn0857-6920en_US
dc.identifier.urihttp://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2559_37_1_403.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67193-
dc.descriptionเชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคมen_US
dc.description.abstractปัจจัยหลักที่ทำให้การฝังรากฟันเทียมทันที (Immediate implant placement) ในฟันหน้าบนประสบผลสำเร็จในการรักษา ได้แก่ ความสวยงามและเสถียรภาพปฐมภูมิ ซึ่งความสวยงามนั้นเกิดจากการมีความหนาของกระดูกเบ้าฟันด้านริมฝีปากที่เพียงพอและตำแหน่งของการฝังรากฟันเทียมทันทีที่เหมาะสม ส่วนเสถียรภาพปฐมภูมิจะได้จากการพิจารณาเติมกระดูกปลูกร่วมกับการฝังรากฟันเทียมทันที การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินค่าความหนาของกระดูกเบ้าฟันด้านริมฝีปากของฟันตัดซี่กลางบน รวมทั้งหาความสัมพันธ์ระหว่างอายุกับความหนาของกระดูกเบ้าฟันด้านริมฝีปากของฟันตัดซี่กลางบน เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการรักษาการฝังรากฟันเทียมทันที การประเมินค่าต่างๆ จะอาศัยข้อมูลจากภาพรังสี โคนบีมคอมพิวเตดโทโมกราฟฟีของผู้ป่วย จำนวน 120 รายที่ถ่ายโดยเครื่องถ่ายรังสีโคนบีมคอมพิวเตดโทโมกราฟฟีเดนตีสแกน และ การประเมินความหนาของกระดูกเบ้าฟันด้านริมฝีปากทำโดยการวัดค่าความหนาในภาพรังสีตัดขวางของแนวสันกระดูกขากรรไกรที่ตำแหน่ง 4 มิลลิเมตรจากรอยต่อเคลือบฟันกับเคลือบรากฟัน (A) ตำแหน่งกึ่งกลางความยาวรากฟัน (B) และตำแหน่งปลายรากฟัน (C) จากการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยความหนาของกระดูกเบ้าฟันด้านริมฝีปาก เท่ากับ 0.92±0.43, 0.84±0.38 และ 1.49±0.61 มิลลิเมตรตามลำดับ และพบว่าที่ตำแหน่ง 4 มิลลิเมตรจากรอยต่อเคลือบฟันกับเคลือบรากฟัน และตำแหน่งกึ่งกลางความยาวรากฟัน (B) จะเป็นบริเวณที่มีความหนาของกระดูกเบ้าฟันด้านริมฝีปากน้อยกว่า 2 มิลลิเมตร มากที่สุด และเมื่ออายุของผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจะมีการลดลงของความหนาของกระดูกเบ้าฟันด้านริมฝีปากของฟันตัดซี่กลางบนที่ตำแหน่ง 4 มิลลิเมตร จากรอยต่อเคลือบฟันกับเคลือบรากฟัน (A) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษาครั้งนี้จึงสรุปว่าในการฝังรากฟันเทียมทันทีนั้น ควรจะต้องเติมกระดูกปลูกร่วมด้วยทุกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีอายุเพิ่มมากขึ้น เพื่อเพิ่มเสถียรภาพปฐมภูมิ และความสวยงามหลังการใส่ครอบฟันที่รองรับด้วยรากฟันเทียมen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการฝังรากฟันเทียมทันทีen_US
dc.subjectความหนาของกระดูกen_US
dc.subjectเบ้าฟันด้านริมฝีปากen_US
dc.subjectฟันตัดซี่กลางบนen_US
dc.subjectโคนบีมคอมพิวเดตen_US
dc.subjectโทโมกราฟฟีen_US
dc.subjectเดนตีสแกนen_US
dc.titleการประเมินความหนาของกระดูกเบ้าฟันด้านริมฝีปากของฟันตัดซี่กลางบนจากภาพรังสีโดยใช้เครื่องถ่ายรังสีโคนบีมคอมพิวเตดโทโมกราฟฟีเดนตีสแกนen_US
dc.title.alternativeAssessment of Labial Alveolar Bone Thickness of Central Maxillary Incisors from DentiiScan Cone Beam Computed Tomography Machineen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.