Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67182
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorชัยรัตน์ เชยสวรรค์en_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:32:31Z-
dc.date.available2020-04-02T14:32:31Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 23, 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2562), 1-28en_US
dc.identifier.issn0859-8479en_US
dc.identifier.urihttps://so01.tci-thaijo.org/index.php/CMJE/article/view/201576/160299en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67182-
dc.descriptionวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้การดำเนินงานโดยคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รับพิจารณาบทความวิชาการ บทความวิจัย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์โดยใช้รูปแบบการการพิจารณาบทความโดยที่ผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบชื่อผู้เขียน และผู้เขียนจะไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Double Blind Process) มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่วิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ และเป็นสื่อกลางในการรายงานความก้าวหน้าทางวิชาการen_US
dc.description.abstractงานศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างการใช้พลังงานทดแทนกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผ่านดัชนีการพัฒนามนุษย์เพื่อทราบถึงอิทธิพลของพลังงานทดแทนที่มีต่อกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ผลลัพธ์จากแบบจำลอง ARDL ชี้ให้เห็นว่าการใช้พลังงานทดแทนส่งผลทางบวกต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยในระยะยาวผ่านการใช้พลังงานจากมวลชีวภาพและพลังงานจากแสงอาทิตย์กับพลังงานลมบนบก ส่วนพลังงานน้ำมีประโยชน์จำกัดต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ผลการศึกษาด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมยืนยันการเกิดขึ้นของกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการใช้พลังงานทดแทน ผลลัพธ์จากแบบจำลอง ARDL แสดงว่าปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงพลังงานส่งผลบวกต่อคุณภาพชีวิตคนไทย ในทางนี้แนวทางการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศควรสนับสนุนการลดมลพิษผ่านการใช้พลังงานทดแทนโดยเฉพาะพลังงานจากมวลชีวภาพและพลังงานแสงอาทิตย์กับพลังงานลมบนบกมากกว่าการควบคุมปริมาณมลพิษผ่านการจำกัดปริมาณการใช้พลังงานเชื้อเพลิงโดยตรง ผลการศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลยืนยันความสัมพันธ์สองทิศทางระหว่างการใช้พลังงานทดแทนกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต สะท้อนให้เห็นว่าการใช้พลังงานทดแทนมีประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ในขณะที่กระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตกระตุ้นการใช้พลังงานทดแทนด้วย แต่ทั้งนี้ประโยชน์ของการใช้พลังงานทดแทนมีแนวโน้มไม่เกิดขึ้นทันที คาดหวังเกิดขึ้นในอนาคตหลังห้าปีตามผลที่ได้จากการทดสอบ Impulse Response Function (IRF) นอกจากนี้ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ทิศทางเดียวระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตแต่แสดงผลทางลบเมื่อเข้าสู่ปีที่ 3 กล่าวคือการพัฒนาคุณภาพชีวิตยังรับผลพวงประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่บ้างแต่ผลพวงประโยชน์จะลดน้อยลงตามลำดับ ในทางนี้ข้อค้นพบใหม่ของงานศึกษานี้ช่วยผู้กำหนดนโยบายในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยที่เปิดกว้างเหนือประเด็นการเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการใช้พลังงานทดแทนen_US
dc.subjectการพัฒนาคุณภาพมนุษย์en_US
dc.subjectประเทศไทยen_US
dc.subjectแบบจำลอง ARDLen_US
dc.subjectการทดสอบ Impulse Response Functionen_US
dc.titleการใช้พลังงานทดแทนกับการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ของประเทศไทยหลักฐานจากความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพและความเป็นเหตุเป็นผลen_US
dc.title.alternativeRenewable Energy Consumption and Human Development in Thailand: Evidence from Cointegration and Causalityen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.