Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67133
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorทวีศักดิ์ ประสานสุทธิพรen_US
dc.contributor.authorภัทริน พรหมชัยวัฒนาen_US
dc.contributor.authorอรณิชา ธนัทวรากรณ์en_US
dc.contributor.authorทัดจันทร์ ครองบารมีen_US
dc.contributor.authorสุมนา จิตติเดชารักษ์en_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:32:29Z-
dc.date.available2020-04-02T14:32:29Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่ทันตแพทยสาร 37,2 (ก.ค.-ธ.ค. 2560) 91-100en_US
dc.identifier.issn0857-6920en_US
dc.identifier.urihttp://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2559_37_2_417.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67133-
dc.descriptionเชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคมen_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบค่ากำลังยึดติดแบบดึงระดับจุลภาคระหว่างเนื้อฟันกับวัสดุรองพื้นโพรงฟันชนิดคอมพอเมอร์ เมื่อร่วมกับการใช้และไม่ใช้สารยึดติด วัสดุและวิธีการ: ฟันกรามแท้ถูกกรอตัดจนถึงชั้นเนื้อฟันด้านบดเคี้ยวให้ได้ผิวฟันที่เรียบ แบ่งกลุ่มการทดลองเป็น 7 กลุ่ม โดยใช้สารยึดติดระบบโททอลเอทช์ (OptiBond™ FL) หรือใช้สารยึดติดระบบเซลฟ์เอทช์ (Clearfil™ SE Bond) หรือไม่ใช้สารยึดติด ร่วมกับวัสดุรองพื้นโพรงฟันชนิด Ionosit-Baseliner หรือ Ionoseal® และกลุ่มที่ใช้วัสดุเรซินมอดิฟายด์กลาสส์ไอโอโนเมอร์ (FujiII LC®) เก็บฟันตัวอย่างไว้ในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 24 ชั่วโมง นำมาตัดให้ได้ชิ้นงานทรงแท่งที่มีพื้นที่หน้าตัด 1 x 1 ตารางมิลลิเมตร และนำไปทดสอบกำลังยึดติดแบบดึงระดับจุลภาค โดยเปรียบเทียบค่ากำลังดึงเฉลี่ยในแต่ละกลุ่มด้วยสถิติ one-way ANOVA และ Duncan test (p<0.05) ผลการศึกษา: การใช้วัสดุรองพื้นโพรงฟันชนิดคอมพอเมอร์ร่วมกับสารยึดติดทั้งสองระบบ ให้กำลังยึดติดสูงกว่าการไม่ใช้สารยึดติด เมื่อเปรียบเทียบจากชนิดของวัสดุคอมพอเมอร์ กลุ่มการทดลองด้วยวัสดุ Ionosit-Baselinerให้กำลังยึดติดสูงกว่ากลุ่ม Ionoseal® และเมื่อพิจารณาในด้านระบบสารยึดติด สารยึดติดระบบโททอลเอทช์มีแนวโน้มในการให้กำลังยึดติดที่สูงกว่าระบบเซลฟ์เอทช์ สรุปผลการศึกษา: วัสดุรองพื้นโพรงฟันชนิดคอมพอเมอร์ไม่สามารถเกิดการยึดติดกับเนื้อฟันได้ดี เมื่อไม่ใช้ร่วมกับสารยึดติด ดังนั้นควรใช้สารยึดติดร่วมกับการใช้งานวัสดุดังกล่าวen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectคอมพอเมอร์en_US
dc.subjectกำลังยึดติดแบบดึงระดับจุลภาคen_US
dc.subjectสารบึดติดen_US
dc.subjectวัสดุรองพื้นโพรงฟันen_US
dc.titleผลของระบบสารยึดติดต่อกำลังยึดติดระหว่างเนื้อฟันและวัสดุรองพื้นโพรงฟันชนิดคอมพอเมอร์en_US
dc.title.alternativeEffect of Adhesive Systems on Bond Strength between Dentin and Compomer Base Materialsen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.