Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67096
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุนทร วิทยาคุณen_US
dc.contributor.authorเจริญ แสงดีen_US
dc.contributor.authorนิรันดร กองเงินen_US
dc.contributor.authorปิยมาสฐ์ ตัณฑ์เจริญรัตน์en_US
dc.date.accessioned2019-12-03T09:01:07Z-
dc.date.available2019-12-03T09:01:07Z-
dc.date.issued2553en_US
dc.identifier.citationวารสารเกษตร 26,2 (มิ.ย. 2553), 179-188en_US
dc.identifier.issn0857-0841en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00109_C00719.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67096-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการให้อาหาร คุณค่าทางโภชนะของอาหารและค่าโลหิตวิทยาของ ม้าแกลบในจังหวัดลำปางในฤดูกาลต่าง ๆ ม้าได้รับอาหารเฉลี่ยวันละ 1-3 ครั้ง คิดเป็นปริมาณอาหารหยาบเฉลี่ยวันละ 3.95 กิโลกรัมของน้ำหนักแห้งหรือ 1.2 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวและอาหารข้นแบบแห้งหรือเปียกคิดเป็นน้ำหนักแห้ง เฉลี่ยวันละ 1.76 กิโลกรัมหรือ 0.53 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว ชนิดของอาหารหยาบที่ใช้เลี้ยงม้าทุกฤดูกาลคือ หญ้าแพงโกล่าสด หญ้าแพงโกล่าแห้ง หญ้าขนสด และยอดต้นข้าวโพดฝักอ่อน คุณค่าทางโภชนะของอาหารหยาบมีโปรตีนหยาบ เยื่อใย ไม่แตกต่างกันทั้งในช่วงฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน (P>0.05) ยกเว้นหญ้าขนสดในฤดูหนาวและ ฤดูฝน และยอดต้นข้าวโพดสดในฤดูหนาวที่มีโปรตีนสูงกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแห้ง (P<0.05) โภชนะอื่นในอาหารหยาบมีความแปรปรวนตามฤดูกาล อาหารข้นแห้งมีวัตถุแห้ง โปรตีนหยาบ เยื่อใย แคลเซียมและฟอสฟอรัสไม่แตกต่างกันทั้ง 3 ฤดูกาล (P>0.05) ส่วนอาหารข้นเปียกมีแคลเซียมและฟอสฟอรัสในฤดูฝนสูงกว่าฤดูร้อน (P<0.05) สัดส่วนของอาหารหยาบต่ออาหารข้นมีค่าประมาณ 2.24:1 ม้าที่เลี้ยงในฤดูฝนและฤดูแล้งมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยไม่แตกต่างกันคือ 332.41 และ 324.43 กิโลกรัม (P>0.05) ระดับน้ำตาลกลูโคสและยูเรียในเลือดม้าในฤดูแล้งและฤดูฝนไม่แตกต่างกัน (P>0.05) แต่โปรตีนในเลือดม้าในฤดูแล้งมีค่าน้อยกว่าฤดูฝน (P<0.05) อิเล็กโทรไลต์ในน้ำเลือดม้า ได้แก่โซเดียมและคลอไรด์ใน ฤดูแล้งมีค่ามากกว่าในฤดูฝน (P<0.05) แต่โพแทสเซียมไม่แตกต่างกัน (P>0.05) พบสารคีโตนเล็กน้อยในปัสสาวะของม้าen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการให้อาหารen_US
dc.subjectโภชนาการen_US
dc.subjectม้าแกลบen_US
dc.subjectลำปางen_US
dc.subjectค่าโลหิตวิทยาen_US
dc.titleสภาวะทางโภชนาการและค่าโลหิตวิทยาในฤดูกาลต่าง ๆ ของม้าแกลบในจังหวัดลำปางen_US
dc.title.alternativeNutritive Status and Blood Metabolites in Different Seasons of Pony Horses in Lampang Provinceen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.