Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67095
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพัชรี สิริตระกูลศักดิ์en_US
dc.contributor.authorสาวิตร มีจุ้ยen_US
dc.contributor.authorโสระยา ร่วมรังษีen_US
dc.date.accessioned2019-12-03T09:01:07Z-
dc.date.available2019-12-03T09:01:07Z-
dc.date.issued2553en_US
dc.identifier.citationวารสารเกษตร 26,2 (มิ.ย. 2553), 127-135en_US
dc.identifier.issn0857-0841en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00109_C00713.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67095-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1en_US
dc.description.abstractผลของการเพิ่มแสงไฟคั่นช่วงกลางคืนต่อประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงของปทุมมา ดำเนินการโดยปลูก ปทุมมา เมื่อ 8 มิถุนายน 2550 ในสภาพอุณหภูมิเฉลี่ย 25 - 34 ◦C ความชื้นสัมพัทธ์ (RH) 57.73 % ความยาววัน 12 ชั่วโมง เมื่อต้นพืชเริ่มงอกประมาณ 1 นิ้ว จึงย้ายต้นกล้ามาให้ได้รับกรรมวิธีทดลอง 2 กรรมวิธี ดังนี้ กรรมวิธีที่ 1) ปลูกพืชโดยให้แสงธรรมชาติ (กรรมวิธีควบคุม) กรรมวิธีที่ 2) การปลูกโดยให้แสงไฟคั่นช่วงกลางคืน (night break) ในช่วงเวลา 20.00 - 22.00 น. นาน 2 ชั่วโมง ด้วยหลอดอินแคนเดสเซนต์ (incandescent) 100 วัตต์ เป็นแหล่งให้แสงไฟ จากการทดลองพบว่า การให้แสงไฟคั่นช่วงกลางคืนมีผลต่อความสูงของต้นปทุมมา ทำให้มีความสูงมากกว่ากรรมวิธีควบคุม โดยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนจำนวนใบต่อต้น จำนวนต้นต่อกอ จำนวนวันที่ดอกจริงดอกแรกบาน และ สีใบ ไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติ การให้แสงไฟคั่นช่วงกลางคืน ทำให้ความยาวก้านดอกดีกว่ากรรมวิธีควบคุม แต่ความยาวช่อดอก จำนวนกลีบประดับชมพูและกลีบประดับเขียว ไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติ ส่วนอัตราการสังเคราะห์แสงของปทุมมา พบว่า มีค่าสูงสุดในช่วง 10.00 น. ของระยะการเจริญเติบโตเมื่อใบ 3 ใบคลี่เต็มที่ในทั้งสองกรรมวิธี คลอโรฟิลล์ฟลูออเรสเซนต์ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติทั้งสองกรรมวิธี ส่วนค่าปริมาณความเข้มแสงบนผิว ใบพืช (PAR) มีค่าสูงสุดในช่วง 14.00 น. โดยกรรมวิธีให้แสงไฟคั่นช่วงกลางคืน ช่วยให้มีอัตราการสังเคราะห์แสงเพิ่มเมื่อเวลา 21.00 น. โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีควบคุมen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectปทุมมาen_US
dc.subjectการให้แสงไฟคั่นช่วงกลางคืนen_US
dc.subjectอัตราการสังเคราะห์แสงen_US
dc.subjectคลอโรฟิลล์ฟลูออเรสเซนต์en_US
dc.titleอิทธิพลของการเพิ่มแสงไฟคั่นช่วงกลางคืนต่ออัตราการสังเคราะห์แสงของปทุมมาen_US
dc.title.alternativeInfluence of Night Break Treatment on Photosynthetic Rate of Curcuma alismatifolia Gagnepen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.