Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67087
Title: ชีววิทยาและความสามารถในการห้ำของมวนตาโต (Geocoris ochropterus Fieber)
Other Titles: Biology and Predation Capacity of Big Eyed Bug (Geocoris ochropterus Fieber)
Authors: อรพรรณ เกินอาษา
กิตติยา สุขเสน
อทิติยา แก้วประดิษฐ์
วิวัฒน์ เสือสะอาด
Authors: อรพรรณ เกินอาษา
กิตติยา สุขเสน
อทิติยา แก้วประดิษฐ์
วิวัฒน์ เสือสะอาด
Keywords: มวนตาโต;Geocoris ochropterus Fieber;ชีววิทยา;ความสามารถในการห้ำ;เหยื่อ
Issue Date: 2553
Publisher: คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: วารสารเกษตร 26, 3 (ต.ค. 2553), 223-230
Abstract: การศึกษาชีววิทยาของมวนตาโต Geocoris ochropterus Fieber (Hemiptera: Lygaeidae) ภายใต้สภาพห้องปฏิบัติการ พบว่า ไข่มีรูปร่างยาวรี สีเขียวอ่อน ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ไข่มีความกว้างเฉลี่ย 0.34±0.04 มม. ยาวเฉลี่ย 0.86±0.08 มม. ระยะฟักไข่เฉลี่ย 7.30±0.48 วัน ระยะตัวอ่อนมี 5 วัย ลำตัวสีน้ำตาลเข้มและเริ่มมีนิสัยเป็นตัวห้ำทันทีเมื่อฟักออกจากไข่ ระยะตัวอ่อนใช้เวลาในการเจริญเติบโตเฉลี่ย 36.7±2.91วัน ตัวเต็มวัยทั้งเพศผู้และเพศเมียลำตัวมีสีดำ เพศเมียมีขนาดลำตัวใหญ่กว่าเพศผู้ ตัวเต็มวัยเพศผู้และเพศเมียมีอายุเฉลี่ย 12.80±1.55 และ 15.20±0.79 วัน ตามลำดับ ตัวเต็มวัยเพศเมียหนึ่งตัวสามารถวางไข่ได้เฉลี่ย 4.40±0.84 ฟองต่อวัน ในการศึกษาความสามารถในการห้ำของมวนตาโต G. ochropterus ต่อเหยื่อ 6 ชนิด ได้แก่ เพลี้ยไฟฝ้าย Thrips palmi Karny เพลี้ยอ่อนฝ้าย Aphis gossypii Glover ตัวอ่อนเพลี้ยแป้งชบา Macronellicoccus hirsutus (Green) ตัวอ่อนแมลงหวี่ขาวยาสูบ Bemisia tabaci (Gennadius) ไข่ผีเสื้อข้าวสาร Corcyra cephalonica Stainton และไรแดงหม่อน Tetranychus truncatus Ehara พบว่า มวนตาโตทั้งในระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัยชอบกินเพลี้ยอ่อนฝ้ายมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ เพลี้ยไฟฝ้าย ไข่ผีเสื้อข้าวสาร ตัวอ่อนเพลี้ยแป้งชบา ไรแดงหม่อน และตัวอ่อนแมลงหวี่ขาวตามลำดับ โดยตัวอ่อนของมวนตาโตตั้งแต่วัยที่ 1 ถึงวัยที่ 5 และตัวเต็มวัยกินเพลี้ยอ่อนฝ้ายมากที่สุดเฉลี่ย 866.10±10.24 และ 566.60±11.3 ตัว ขณะที่กินตัวอ่อนแมลงหวี่ขาวน้อยที่สุดเฉลี่ย 234.15±8.69 ตัว และ 101.45±2.19 ตัว ตามลำดับ
Description: วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1
URI: http://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00110_C00758.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67087
ISSN: 0857-0841
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.