Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67006
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวรรณภา จินาเดชen_US
dc.contributor.authorพิริยะ ยาวิราชen_US
dc.contributor.authorพิสัยศิษฎ์ ชัยจรีนนท์en_US
dc.date.accessioned2019-12-03T08:56:55Z-
dc.date.available2019-12-03T08:56:55Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่ทันตแพทยสาร 40,2 (พ.ค.-ส.ค. 2562) 93-103en_US
dc.identifier.issn0857-6920en_US
dc.identifier.urihttp://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2562_40_2_515.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67006-
dc.descriptionเชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคมen_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: ศึกษาคุณสมบัติความขรุขระพื้นผิวและการไหลแผ่ของน้ำกลั่น บนแผ่นเซอร์โคเนียที่ถูกปรับปรุงพื้นผิวด้วยสารละลายคู่ควบชนิดต่างๆ วัสดุและวิธีการ: แผ่นเซอร์โคเนีย 75 แผ่น ขนาด 10x10x1 มิลลิเมตร แบ่งกลุ่มการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มคือ กลุ่มควบคุม กลุ่มที่ถูกเตรียมพื้นผิวด้วยสารละลายคู่ควบไซเลนและสารละลายคู่ควบที่มีเท็นเอ็มดีพีเป็นองค์ประกอบ ทดสอบค่าความขรุขระพื้นผิวของแผ่นเซอร์โคเนียด้วยเครื่องวิเคราะห์ความขรุขระพื้นผิว และทดสอบการไหลแผ่โดยการวัดมุมสัมผัสระหว่างน้ำกลั่นกับพื้นผิวเซอร์โคเนีย วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยของความขรุขระพื้นผิวและค่าเฉลี่ยของมุมสัมผัสโดยใช้สถิติชนิดความแปรปรวนแบบทางเดียว และทดสอบเชิงซ้อนด้วยวิธีทูกีย์ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยความขรุขระพื้นผิวในทุกกลุ่มการทดลองไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (1.10-1.24 ไมโครเมตร) กลุ่มที่ปรับปรุงพื้นผิวแผ่นเซอร์โคเนียด้วยสารละลายคู่ควบที่มีเท็นเอ็มดีพีเป็นองค์ประกอบ ให้ค่ามุมสัมผัสน้อยที่สุด (55.3o+ 1.6) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยกลุ่มควบคุมให้ค่ามุมสัมผัสมากที่สุด (80.2o+ 1.3) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับ กลุ่มอื่นๆ สรุปผลการศึกษา: ความขรุขระพื้นผิวของแผ่นเซอร์โคเนียมีค่าใกล้เคียงกันในทุกกลุ่มทดลองและหลังจากปรับปรุงพื้นผิวพบว่าค่ามุมสัมผัสในกลุ่มปรับปรุงพื้นผิวด้วยสารละลายคู่ควบที่มี เท็นเอ็มดีพีเป็นองค์ประกอบให้ค่ามุมที่น้อยที่สุดen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectสารละลายคู่ควบen_US
dc.subjectมุมสัมผัสen_US
dc.subjectความขรุขระพื้นผิวen_US
dc.subjectแผ่นเซอร์โคเนียen_US
dc.titleการศึกษาความขรุขระพื้นผิวและการไหลแผ่ของน้ำกลั่นบนแผ่นเซอร์โคเนียที่ถูกปรับปรุงพื้นผิวด้วยสารละลายคู่ควบชนิดต่าง ๆen_US
dc.title.alternativeThe Study of Surface Roughness and Flowability of Distilled Water on a Zirconia Plate After Treated with Various Types of Coupling Agent Solutionen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.