Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67003
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศุภรัสมิ์ ศักดากรกุลen_US
dc.contributor.authorวิรัช พัฒนาภรณ์en_US
dc.contributor.authorชาย รังสิยากูลen_US
dc.date.accessioned2019-12-03T08:56:55Z-
dc.date.available2019-12-03T08:56:55Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่ทันตแพทยสาร 40,2 (พ.ค.-ส.ค. 2562) 51-63en_US
dc.identifier.issn0857-6920en_US
dc.identifier.urihttp://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2562_40_2_513.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67003-
dc.descriptionเชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคมen_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อประเมินการกระจายความเครียดแบบวอนมิสเซส และการเคลื่อนที่ของฟันหน้าบนหกซี่ด้วยกลไกการดันเข้า 2 ชนิดด้วยหลักยึดหมุดฝังในกระดูก วิเคราะห์โดยวิธีไฟไนต์เอลิเมต์ วิธีการ: สร้างแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ของฟันหน้าบนหกซี่ พร้อมทั้งเอ็นยึดปริทันต์ และกระดูกเบ้าฟัน กลไกแบบที่ 1 จะใช้หลักยึดหมุดฝังในกระดูก 1 ตัว ฝังที่ระหว่างรากฟันตัดซี่กลางบน ให้แรงลัพธ์เท่ากับ 60 กรัม ที่ลวดเส้นหลักบริเวณระหว่างฟันตัดบนซี่กลาง กลไกแบบที่ 2 จะใช้หลักยึดหมุดฝังในกระดูก 2 ตัว ฝังที่ระหว่างรากฟันตัดซี่ข้างบนและฟันเขี้ยวบน ให้แรง 2 ข้าง ซ้ายและขวา ในแนวเฉียงที่ลวดเส้นหลักบริเวณฟันตัดซี่กลางบนและฟันตัดซี่ข้างบน ท าการวิเคราะห์การกระจายความเครียดและการเคลื่อนที่ของฟัน ผลการศึกษา: ในกลไกแบบที่ 1 ความเครียดแบบวอนมิสเซสที่ฟันตัดซี่กลางมีค่าสูงกว่าที่ฟันตัดซี่ข้างและฟันเขี้ยว ในกลไกแบบที่ 2 การกระจายความเครียดแบบวอนมิสเซสที่ฟันตัดซี่กลางและฟันตัดซี่ข้างมีค่าสูงใกล้เคียงกันและมากกว่าที่ฟันเขี้ยว ในกลไกแบบที่ 1 ฟันทุกซี่ถูกดันเข้าพร้อมกับยื่นและเอียงออกมามากขึ้น ในกลไกแบบที่ 2 ฟันตัดซี่กลางถูกดันเข้าตามแนวแกนฟัน ในขณะที่ฟันตัดซี่ข้างและฟันเขี้ยวยื่นออกมาเล็กน้อย สรุปผล: กลไกการดันเข้าของฟันหน้าบน หกซี่ เมื่อใช้หลักยึดหมุดฝังในกระดูก 2 ตัว มีการกระจายความเครียดไปยังฟันตัดบน สี่ซี่ และทำให้เกิดการเคลื่อนฟันในทิศทางดันเข้าได้ดีกว่าการใช้หลักยึดหมุดฝังในกระดูก 1 ตัวen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectหลักยึดหมุดฝังในกระดูกen_US
dc.subjectการดันเข้าของฟันหน้าบนen_US
dc.subjectวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์en_US
dc.titleการดันเข้าของฟันหน้าบน หกซี่ด้วยหลักยึดหมุดฝังในกระดูก วิเคราะห์โดยวิธีไฟไนต์ เอลิเมนต์en_US
dc.title.alternativeIntrusion of Six Maxillary Anterior Teeth Using Mini-screw Anchorage: A Finite Element Studyen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.