Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66996
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorกิตติศักดิ์ ศิริกันไชยen_US
dc.contributor.authorธนพัฒน์ ศาสตระรุจิen_US
dc.contributor.authorอรณิชา ธนัทวรากรณ์en_US
dc.contributor.authorทวีศักดิ์ ประสานสุทธิพรen_US
dc.contributor.authorทัดจันทร์ ครองบารมีen_US
dc.contributor.authorสุมนา จิตติเดชารักษ์en_US
dc.date.accessioned2019-12-03T08:56:55Z-
dc.date.available2019-12-03T08:56:55Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่ทันตแพทยสาร 40,3 (ก.ย.-ธ.ค. 2562) 91-101en_US
dc.identifier.issn0857-6920en_US
dc.identifier.urihttp://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2562_40_3_529.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66996-
dc.descriptionเชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคมen_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของระยะเวลาของการฉายแสง และชนิดของสารแช่ต่อการติดสีของวัสดุบูรณะเรซินคอมโพสิตชนิดบัลค์ฟิลล์และแบบดั้งเดิม วิธีการวิจัย: เตรียมชิ้นทดสอบวัสดุบูรณะเรซินคอมโพสิตทรงกลมแบน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 มิลลิเมตร สูง 4 มิลลิเมตร จากวัสดุบูรณะเรซินคอมโพสิตชนิดบัลค์ฟิลล์และแบบดั้งเดิมอย่างละ 120 ชิ้น โดยการอุดแบบก้อนเดียว (bulk-filling technique) แล้วทำการฉายแสง ด้านบนด้วยระยะเวลาฉายแสงที่ต่างกัน คือ 10 วินาที 20 วินาที และ 40 วินาที ชิ้นทดสอบในแต่ละกลุ่มถูกแบ่งไปแช่ในน้ ากลั่น (DI) สารละลาย มีสี (CL) สารละลายมีสีผสมโซดา (SD) และสารละลายมีสีผสมแอลกอฮอล์ (AL) อย่างละเท่า ๆ กัน ชิ้นงานถูกวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของสี ด้วยเครื่องสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ โดยวัดสีด้านล่างของชิ้นงานหลังฉายแสงทันทีและหลังจากแช่ในสารแช่ 30 วัน นำค่าความต่างสีก่อน และหลังแช่มาวิเคราะห์ทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนสามทางและเปรียบเทียบเชิงซ้อนด้วยวิธีทดสอบชนิดทูคีย์เอชเอสดีที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยความต่างสีของวัสดุบูรณะเรซินคอมโพสิตแบบดั้งเดิมมีค่าสูงกว่าวัสดุบูรณะเรซินคอมโพสิตชนิดบัลค์ฟิลล์ในทุกกลุ่มระยะเวลาฉายแสง โดยค่าเฉลี่ยความต่างสีของกลุ่มฉายแสง 10 วินาที มีค่าสูงกว่ากลุ่ม 20 และ 40 วินาที แต่ระหว่างกลุ่ม 20 และ 40 วินาที ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นกลุ่มของวัสดุบูรณะ เรซินคอมโพสิตแบบดั้งเดิมที่แช่ในสารละลายมีสีผสมแอลกอฮอล์ที่ค่าเฉลี่ยความต่างสีของกลุ่มฉายแสง 40 วินาที น้อยกว่ากลุ่มฉายแสง 20 วินาที และพบว่าสารละลายมีสีผสมแอลกอฮอล์มีผลทำให้ค่าเฉลี่ยความต่างสีสูงสุด สรุปผลการศึกษา: เมื่อพิจารณาที่ระยะเวลาฉายแสง กลุ่มที่มีการติดสีมากที่สุดคือ กลุ่มที่ฉายแสง 10 วินาที เมื่อพิจารณา ที่ชนิดของสารแช่ กลุ่มที่แช่ในสารละลายมีสีผสมแอลกอฮอล์มีการติดสีมากที่สุด และเมื่อพิจารณาชนิดของวัสดุพบว่า กลุ่มของวัสดุบูรณะเรซิน คอมโพสิตแบบดั้งเดิม มีการติดสีมากกว่ากลุ่มของ วัสดุบูรณะเรซินคอมโพสิตชนิดบัลค์ฟิลล์en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectความเสถียรสีen_US
dc.subjectเรซินคอมโพสิตชนิดบัลค์ฟิลล์en_US
dc.subjectสเปคโตรโฟโตมิเตอร์en_US
dc.subjectระยะเวลาฉายแสงen_US
dc.subjectสารแช่en_US
dc.titleผลของระยะเวลาฉายแสงต่อความเสถียรสีของบัลค์ฟิลล์เรซินคอมโพสิต ในสารแช่ต่างชนิดโดยใช้เครื่องสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ในการวิเคราะห์en_US
dc.title.alternativeThe Effect of Light Curing Time on the Color Stability of Bulk Fill Resin Composites in Different Immersion Media: Spectrophotometer Analysisen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.