Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66987
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | อิศรากร พัลวัลย์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-12-03T08:56:55Z | - |
dc.date.available | 2019-12-03T08:56:55Z | - |
dc.date.issued | 2562 | en_US |
dc.identifier.citation | ศึกษาศาสตร์สาร 3, 2 (พ.ค.-ส.ค. 2562), 37-47 | en_US |
dc.identifier.issn | 0859-8479 | en_US |
dc.identifier.uri | https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/174940/148559 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66987 | - |
dc.description | ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU Journal of Education) เป็นวารสารวิชาการระดับชาติ ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดพิมพ์เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เผยแพร่ผลงานวิจัย นวัตกรรม และองค์ความรู้ใหม่อันเป็นความก้าวหน้าทางวิชาการด้านศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ในยุคสมัยแห่งการปฏิรูปการเรียนรู้ของนักวิชาการ อาจารย์ และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการสถาบันดนตรีเอกชนในเขตพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร/เจ้าของ และครู สถาบันดนตรีเอกชน 8 แห่ง ได้แก่ เซอนี่มิวสิค ธีระดามิวสิค บ้านดนตรี ฉัตรการดนตรี เปียโนสตูดิโอ ทองประเสริฐมิวสิคเฮาส์ บ้านครูตุ๋ย และมณีทองเปียโน จำนวน 23 คน ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถามการบริหารจัดการที่มีผลต่อการดําเนินงานของสถาบันดนตรีเอกชนในจังหวัดลําปาง และแบบสัมภาษณ์วิธีการบริหารจัดการของผู้บริหาร/ผู้ประกอบการ ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติโดยหาค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงมาตรฐาน ( .) ประกอบความเรียง จากสภาพทั่วไปด้านการบริหารจัดการหลักสูตรของสถาบัน หลักสูตรที่ใช้สอนเป็นหลักสูตรมาตรฐานสากลควบคู่กับหลักสูตรของสถาบัน อีกทั้งหลักสูตรยังมีความยืดหยุ่นเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน คือ การเรียนดนตรีเพื่อความสนุกสนาน ผ่อนคลายจากการเรียนทางวิชาการในโรงเรียน นอกจากนี้ สถาบันดนตรีทั้ง 8 แห่ง ยังมีการติดตามผลความก้าวหน้าด้านการปฏิบัติของผู้เรียน โดยการจัดเวทีแสดงความสามารถอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ด้านบริหารจัดการบุคลากรในสถาบัน พบว่า ครูผู้สอนร้อยละ 69.6 สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับดนตรี และร้อยละ 39.1 มีประสบการณ์ด้านการสอนในสถาบันดนตรีเป็นระยะเวลา 2-5 ปี ครูผู้สอนบางท่านยังมีความสามารถในการสอนทักษะปฏิบัติเครื่องดนตรีหลากหลายชนิด นอกจากนี้ ครูผู้สอนยังมีส่วนร่วมในการผลักดันผู้เรียนให้แสดงความสามารถทั้งการแสดงบนเวทีและการสอบวัดระดับมาตรฐานในหลักสูตรสากล สำหรับการจ้างงาน พบว่า ครูผู้สอนจะถูกจ้างงานแบบรายชั่วโมง ด้านการบริหารการจัดการสถานที่ พบว่า สถาบันดนตรีทั้ง 8 แห่งตั้งอยู่ในเขตชุมชน สามารถสัญจรไปมาได้สะดวก สำหรับเวลาทำการจะเปิดสอนทุกวัน โดยวันจันทร์ถึงศุกร์จะเปิดให้บริการในช่วงเย็น ส่วนวันเสาร์และอาทิตย์จะเปิดทั้งวัน | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | สถาบันดนตรี | en_US |
dc.subject | การบริหารการจัดการ | en_US |
dc.title | การศึกษาสภาพการบริหารจัดการสถาบันสอนดนตรีเอกชนในเขตพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง | en_US |
dc.title.alternative | A study of private music school’s management in Lampang | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.