Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66982
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ชัยวัฒน์ นิ่มอนุสสรณ์กุล | en_US |
dc.contributor.author | กัญญ์สุดา นิ่มอนุสสรณ์กุล | en_US |
dc.contributor.author | อนัสปรีย์ ไชยวรรณ | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-12-03T08:56:55Z | - |
dc.date.available | 2019-12-03T08:56:55Z | - |
dc.date.issued | 2560 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 21, 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2560), 77-97 | en_US |
dc.identifier.issn | 0859-8479 | en_US |
dc.identifier.uri | https://www.tci-thaijo.org/index.php/CMJE/article/view/79302/85155 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66982 | - |
dc.description | วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้การดำเนินงานโดยคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รับพิจารณาบทความวิชาการ บทความวิจัย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์โดยใช้รูปแบบการการพิจารณาบทความโดยที่ผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบชื่อผู้เขียน และผู้เขียนจะไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Double Blind Process) มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่วิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ และเป็นสื่อกลางในการรายงานความก้าวหน้าทางวิชาการ | en_US |
dc.description.abstract | ประเทศไทยได้มีการสนับสนุน ส่งเสริมให้ภาคครัวเรือนในประเทศมีการออมในหลายรูปแบบ เช่น การฝากเงินกับสถาบันการเงิน การลงทุนในตราสารหนี้ การลงทุนในตราสารทุน รวมถึงการลงทุนผ่านกองทุนรวมต่างๆ โดยการลงทุนผ่านกองทุนรวมนั้น รัฐบาลได้สนับสนุนโดยสามารถนำเงินลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวมาลดหย่อนภาษีได้ ดังนั้นกองทุนรวมหุ้นระยะยาวจึงได้รับความสนใจจากนักลงทุน การวิจัยนี้จึงได้ทำการประเมิน และเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกองทุนรวมหุ้นระยะยาวของประเทศไทยจำนวน 9 กองทุนที่มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิสูงสุด ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2559 และดำเนินงานในระหว่างวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2559 รวมระยะเวลา 5 ปี โดยการหาอัตราผลตอบแทน ความเสี่ยง การใช้มาตรวัดของชาร์ป มาตรวัดของเทรเนอร์ และการจำลองชุดข้อมูลมาใช้ในการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว 75/25 และกองทุนเปิดอเบอร์ดีนหุ้นระยะยาว ให้อัตราผลตอบแทนสูงสุดสามลำดับแรก ขณะที่กองทุนเปิดเค 20 ซีเล็คท์หุ้นระยะยาวปันผล กองทุนเปิดเคหุ้นระยะยาว และกองทุนเปิดเคหุ้นระยะยาวปันผลมีความเสี่ยงสูงสุดสามลำดับแรก เมื่อพิจารณาจากมาตรวัดของชาร์ป และมาตรวัดของเทรเนอร์พบว่า กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว 75/25 กองทุนเปิดอเบอร์ดีนหุ้นระยะยาว กองทุนเปิดเค 20 ซีเล็คท์หุ้นระยะยาวปันผล และกองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นระยะยาวปันผลให้อัตราผลตอบแทนต่อหนึ่งหน่วยของความเสี่ยงมากกว่าดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ ส่วนการจำลองชุดข้อมูล หากกำหนดให้อัตราผลตอบแทนของกองทุนนั้นมีการแจกแจงแบบโลจิสติกซึ่งทดสอบโดยค่าสถิติ Anderson-Darling และสมมติการแจกแจงแบบปกติ พบว่า กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาวมีผลการดำเนินงานหรือมีประสิทธิภาพมากกว่ากองทุนอื่นๆ ส่วนกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว 75/25 กองทุนเปิดเคหุ้นระยะยาว และกองทุนเปิดอเบอร์ดีนหุ้นระยะยาวมีผลการดำเนินงานรองลงมาและใกล้เคียงกัน | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | กองทุนรวมหุ้นระยะยาว | en_US |
dc.subject | มาตรวัดของชาร์ป | en_US |
dc.subject | มาตรวัดของเทรเนอร์ | en_US |
dc.subject | การจำลองชุดข้อมูล | en_US |
dc.title | การประเมินและเปรียบเทียบผลการดำเนินงาน กองทุนรวมหุ้นระยะยาวของประเทศไทย | en_US |
dc.title.alternative | Evaluation and Comparison of the Performance of Long Term Equity Fund in Thailand | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.