Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66980
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorไพลิน สันติกุลen_US
dc.date.accessioned2019-12-03T08:56:55Z-
dc.date.available2019-12-03T08:56:55Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.citationวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 21, 1 (ม.ค.-ก.ค. 2560), 1-30en_US
dc.identifier.issn0859-8479en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/CMJE/article/view/78960/71749en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66980-
dc.descriptionวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้การดำเนินงานโดยคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รับพิจารณาบทความวิชาการ บทความวิจัย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์โดยใช้รูปแบบการการพิจารณาบทความโดยที่ผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบชื่อผู้เขียน และผู้เขียนจะไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Double Blind Process) มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่วิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ และเป็นสื่อกลางในการรายงานความก้าวหน้าทางวิชาการen_US
dc.description.abstractบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเติบโตผลิตภาพปัจจัยรวมและองค์ประกอบที่ส่งผลต่อการเติบโตผลิตภาพปัจจัยรวมของธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทยหลังวิกฤติเศรษฐกิจปี พ.ศ. 2540 ในช่วงปี พ.ศ. 2541-2557 โดยใช้เลขดัชนีผลิตภาพการเติบโตปัจจัยรวมของ Malmquist ทางด้านผลผลิตด้วยวิธีการวิเคราะห์การล้อมกรอบข้อมูล (Data Envelopment Analysis: DEA) ที่วัดทางด้านจำนวนกรมธรรม์เท่านั้น การศึกษานี้ใช้ข้อมูลแบบผสม (Panel) ของ 63 บริษัทจากรายงานประจำปีของบริษัทประกันวินาศภัยที่รายงานต่อสำนักงานอัตราเบี้ยประกันวินาศภัย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) โดยแบ่งบริษัทประกันวินาศภัยเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มส่วนแบ่งตลาด 15 อันดับแรกและกลุ่มส่วนแบ่งตลาดอื่นๆ จากการศึกษาพบว่าลักษณะสำคัญของธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทยคือ มีบริษัทขนาดเล็กอยู่เป็นจำนวนมากและขนาดแตกต่างกันอย่างชัดเจน การรับประกันภัยเป็นแบบกระจุกตัว เป็นธุรกิจประเภทใช้แรงงานเข้มข้น และรูปแบบกรมธรรม์ของแต่ละบริษัทไม่มีความแตกต่างกัน ทั้งนี้นับแต่ปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ภายใต้กฎระเบียบการดำเนินงานที่เข้มงวดและการแข่งขันในอุตสาหกรรมประกันวินาศภัยที่รุนแรง เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทในกระบวนการดำเนินงานเพื่อเพิ่มผลิตภาพและสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันทั้งด้านสำนักงาน การขาย และการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ผลการวิเคราะห์การเติบโตผลิตภาพปัจจัยรวมของบริษัทประกันวินาศภัยในประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2541-2557 พบว่ามีการเติบโตอย่างก้าวหน้าจำนวน 40 บริษัทและอีก 23 บริษัทที่เหลือเติบโตอย่างถดถอย จากการศึกษาองค์ประกอบที่ส่งผลต่อการเติบโตผลิตภาพปัจจัยรวมพบว่าบริษัทประกันวินาศภัยโดยส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงเชิงเทคนิคอย่างก้าวหน้า แต่การเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพเชิงเทคนิคทางด้านผลผลิตเป็นไปอย่างถดถอย กล่าวคือ บริษัทประกันวินาศภัยโดยส่วนใหญ่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจประกันวินาศภัยหลังวิกฤติทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นแต่ไม่มีการบริหารจัดการจำนวนสาขา พนักงานและผู้บริหารอย่างเหมาะสม บริษัทประกันวินาศภัยที่มีการเติบโตผลิตภาพปัจจัยรวมสูงสุด 5 อันดับแรกได้แก่ บริษัท กรุงเทพประกันสุขภาพ ทูนประกันภัย นิวอินเดียแอสชัวรันซ์ พุทธธรรมประกันภัย และบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัย ซึ่งไม่อยู่ในกลุ่มบริษัทประกันวินาศภัยที่มีส่วนแบ่งตลาด 15 อันดับแรกโดยบริษัทที่อยู่ในกลุ่มส่วนแบ่งตลาด 15 อันดับแรกมีการเติบโตผลิตภาพปัจจัยรวมและการเปลี่ยนแปลงเชิงเทคนิคในช่วงปี พ.ศ. 2541-2557 น้อยกว่าบริษัทที่อยู่ในกลุ่มส่วนแบ่งตลาดอื่นๆ แต่การเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพเชิงเทคนิคทางด้านผลผลิตมากกว่ากล่าวคือบริษัทที่อยู่ในกลุ่มส่วนแบ่งตลาด 15 อันดับแรกนำเทคโนโลยีมาใช้น้อยกว่าแต่มีการบริหารจัดการปัจจัยการผลิตอย่างเหมาะสมมากกว่าถึงแม้จะมีจำนวนสาขา พนักงานและผู้บริหารในปริมาณที่มากกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มส่วนแบ่งตลาดอื่นๆen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectประกันวินาศภัยen_US
dc.subjectการวิเคราะห์การล้อมกรอบข้อมูลen_US
dc.subjectการเติบโตผลิตภาพปัจจัยรวมen_US
dc.subjectการเปลี่ยนแปลงเชิงเทคนิคen_US
dc.subjectการเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพเชิงเทคนิคen_US
dc.titleการวิเคราะห์การเติบโตผลิตภาพปัจจัยรวมของธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทยหลังวิกฤติเศรษฐกิจปี พ.ศ. 2540en_US
dc.title.alternativeTotal Factor Productivity Growth Analysis of Non-Life Insurance in Thailand after the 1997 Asian Financial Crisisen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.