Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66979
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorณิชนันทน์ รัตน์ไทรแก้วen_US
dc.contributor.authorเรวดี จรุงรัตนาen_US
dc.contributor.authorอรพรรณ ศรีเสาวลักษณ์en_US
dc.date.accessioned2019-12-03T08:56:55Z-
dc.date.available2019-12-03T08:56:55Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.citationวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 21, 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2560), 45-63en_US
dc.identifier.issn0859-8479en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/CMJE/article/view/102149/85160en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66979-
dc.descriptionวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้การดำเนินงานโดยคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รับพิจารณาบทความวิชาการ บทความวิจัย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์โดยใช้รูปแบบการการพิจารณาบทความโดยที่ผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบชื่อผู้เขียน และผู้เขียนจะไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Double Blind Process) มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่วิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ และเป็นสื่อกลางในการรายงานความก้าวหน้าทางวิชาการen_US
dc.description.abstractประเทศไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญที่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ส่งผลให้ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุขั้นสูงสุดในไม่ช้า โดยอัตราการพึ่งพิงของผู้สูงอายุต่อประชากรวัยทำงานได้ จะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 20 ในปี 2553 เป็นร้อยละ 60 ในปี 2583 (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ: สศช., 2556) และจากการสำรวจในปี 2557 พบว่า มีผู้สูงอายุเพียงร้อยละ 4 เท่านั้นที่ใช้เงินออมของตนเองเป็นรายได้หลักในการดำรงชีพ (สศช., 2557) จึงเป็นคำถามที่สำคัญในเชิงนโยบายว่าเราจะส่งเสริมให้คนเริ่มออมตั้งแต่ในวัยทำงานได้อย่างไร ดังนั้นงานศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยทั้งที่เป็นปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้านพฤติกรรมว่าจะส่งผลอย่างไรต่อการออมของบุคคล ในการศึกษานี้ใช้กลุ่มตัวอย่างของกลุ่มข้าราชการส่วนภูมิภาคในจังหวัดนครปฐมจำนวน 100 รายโดยการสัมภาษณ์แบบเผชิญหน้า ผลการศึกษา พบว่า คนส่วนใหญ่มีเงินออม (ร้อยละ 80) โดยมีเงินออมเฉลี่ยของครัวเรือนมีค่าเท่ากับ 8,920 บาทต่อเดือน สิ่งที่น่าสนใจของการศึกษานี้คือ ปัจจัยทางพฤติกรรมในหลายปัจจัยส่งผลต่อการออมอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ การออมเงินแบบแบ่งบัญชีในใจส่งผลทำให้มีเงินออมเพิ่มขึ้น ขณะที่คนที่มีลักษณะที่ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ส่งผลให้มีเงินออมลดลง และคนที่มีพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงมีแนวโน้มที่จะมีเงินออมมากกว่าคนที่ชอบเสี่ยงหรือคนที่มีความเป็นกลางทางความเสี่ยง ดังนั้น วิธีการหนึ่งที่จะส่งเสริมให้คนออมมากขึ้น สามารถทำได้โดยการส่งเสริมให้ออมเงินด้วยการแยกเงินออมออกเป็นส่วนๆ ตามวัตถุประสงค์ของการออม โดยไม่ให้มีการนำเงินต่างวัตถุประสงค์มาใช้ร่วมกัน น่าจะส่งเสริมให้บุคคลสามารถออมเงินได้เพิ่มขึ้นen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการออมen_US
dc.subjectการแบ่งบัญชีในใจen_US
dc.subjectการควบคุมตนเองen_US
dc.subjectการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงen_US
dc.titleการแบ่งบัญชีในใจ การควบคุมตัวเอง การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง และการออมของบุคคลen_US
dc.title.alternativeMental Accounts, Self-control, Risk Aversion and Savingen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.