Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66976
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorกนกพงศ์ สุภาราญen_US
dc.contributor.authorจารวี วงศ์สุทธิผลen_US
dc.contributor.authorธารริน หิรัญวงษ์en_US
dc.contributor.authorอัศวิน โรจนสุมาพงศ์en_US
dc.contributor.authorกนกพร ภิญโญพรพาณิชย์en_US
dc.contributor.authorชัยสิริ อังกุรวรานนท์en_US
dc.contributor.authorวิชุดา จิรพรเจริญen_US
dc.date.accessioned2019-12-03T08:56:55Z-
dc.date.available2019-12-03T08:56:55Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่เวชสาร 58,3 (มิถุนายน-กันยายน 2562), 133-143en_US
dc.identifier.issn0125-5983en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/CMMJ-MedCMJ/article/view/202547/141317en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66976-
dc.descriptionเชียงใหม่เวชสาร เป็นวารสารของคณะแพทยศาสตร์ มช. ตีพิมพ์เพผยแพร่บทความวิชาการ สาขาวิทยาศาสตร์ภาพ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้แก่ในวงกว้าง เป็นวารสารที่มี peer review ตีพิมพ์ปีละ 4 ฉบับ ในเดือน มีนาคม มิถุนายน กันยายน และธันวาคมen_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกของการดื่มแอลกอฮอล์และความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มเครื่องดื่มแอลกอ-ฮอล์กับปัจจัยด้านสุขภาพ (พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุและการเคยประสบอุบัติเหตุจากการขับขี่หลังการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์) และปัจจัยด้านการเรียน (ผลการเรียนพฤติกรรมการเรียนและทัศนคติต่อการเรียน) ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา วิธีการ การศึกษาแบบภาคตัดขวางในนักศึกษาระดับอุดมศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ยินยอมให้ทําการสํารวจจํานวน 430 รายโดยทําการตอบแบบสอบถามด้วยตนเองเก็บข้อมูลระหว่างเดือนกันยายนถึงตุลาคมพ.ศ. 2560 ข้อมูลที่ได้ถูกนํามาบรรยายโดยใช้สถิติพรรณนาและหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยใช้สถิติ One-way ANOVA และ Chi-Square test ผลการศึกษากลุ่มที่ศึกษามีอายุเฉลี่ย (mean±SD) 20.28±0.06 ปีเป็นเพศหญิงจํานวน 221 ราย (ร้อยละ51.4) ความชุกในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร้อยละ 81.86 เพศชายมีความถี่ในการดื่มสูงกว่าเพศหญิงโดยที่ความถี่ตั้งแต่ 1 ครั้งต่อเดือนเป็นต้นไป (ร้อยละ 40.78, ร้อยละ 21.72 ตามลําดับ) พบความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อปัจจัยทางสุขภาพและปัจจัยทางการเรียนดังนี้ความถี่ในการดื่มที่เพิ่มมากขึ้นสัมพันธ์กับพฤติกรรมการขับขี่หลังการดื่ม (p<0.001) และการเกิดอุบัติเหตุหลังการดื่ม (p= 0.036) ความถี่ในการดื่มที่เพิ่มมากขึ้นสัมพันธ์กับผลการเรียนที่ลดลง (p<0.001) อีกทั้งยังสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเรียนด้านลบได้แก่การขาดเรียน (p<0.001) การเข้าเรียนสาย (p<0.001) การถอนกระบวน-วิชา (p<0.001) ไม่พบความสัมพันธ์ของการดื่มกับทัศนคติตอการเรียน สรุป นักศึกษาชายมีค่าอัตราความชุกในการดื่มและความถี่ของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูงกว่านักศึกษาหญิงอีกทั้งการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีความสัมพันธ์เชิงลบต่อปัจจัยทางสุขภาพและด้านการเรียนของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาเชียงใหม่เวชสาร 2562;58(3):133-43.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการดื่มแอลกอฮอล์en_US
dc.subjectนักศึกษาen_US
dc.subjectผลการเรียนen_US
dc.subjectผลลัพธ์ทางสุขภาพen_US
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับการเกิดอุบัติเหตุการจราจรทางบกพฤติกรรมการเรียนและผลการเรียนในนักศึกษาระดับอุดมศึกษาen_US
dc.title.alternativeA study of the association between alcohol consumption, road accidents, learning behavior and academic achievement in university studentsen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.