Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66953
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorบุญฑริกา ปลั่งสูงเนินen_US
dc.contributor.authorเสาวลักษณ์ แย้มหมื่นอาจen_US
dc.contributor.authorณรกมล เลาห์รอดพันธ์en_US
dc.date.accessioned2019-12-03T08:56:54Z-
dc.date.available2019-12-03T08:56:54Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationวารสารเกษตร 35, 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2562), 487-494en_US
dc.identifier.issn0857-0841en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/216177/150731en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66953-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี ค่าการย่อยสลายในกระเพาะหมักและความสามารถการย่อยได้ของโภชนะในตัวสัตว์ของอาหารข้นที่เสริมรำข้าวขาวในระดับที่แตกต่างกัน โดยทำการประกอบสูตรอาหารข้นที่มีการเสริมรำข้าวขาวต่างระดับได้แก่ T1 (0%) T2 (10%) T3 (20%) และ T4 (30%) วิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีโดยวิธี proximate analysis ทำการวิเคราะห์การย่อยสลายในกระเพาะรูเมนโดยวิธี nylon bag technique และความสามารถในการย่อยได้ในโคเนื้อพื้นเมืองเพศผู้เจาะกระเพาะจำนวน 4 ตัว ทำการศึกษาการย่อยสลายในกระเพาะรูเมนโดยบ่มตัวอย่างอาหารเป็นเวลา 2, 4, 8, 12, 24, 48, 72 และ 96 ชั่วโมง สำหรับการศึกษาความสามารถในการย่อยได้ในตัวสัตว์ ใช้โคเจาะกระเพาะ เพศผู้ตอน จำนวน 4 ตัว วางแผนการทดลองแบบ 4x4 Latin square ทำการเก็บอาหารที่ให้ อาหารที่เหลือและมูล จากการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีพบว่าค่า DM และ OM ของสูตรที่เสริมรำข้าวขาว ลดลงตามระดับของรำข้าวขาวที่เพิ่มสูงขึ้น (P<0.05) ค่า EE ของ T3 และ T4 มีค่ามากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) พบว่าค่าการย่อยสลายในกระเพาะรูเมนไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่ส่วนที่ละลายได้ (washing loss) ของอาหารข้นที่เสริมรำข้าวขาว 0% มีค่าสูงกว่าระดับอื่น ๆ (P<0.05) นอกจากนี้ความสามารถในการย่อยได้ของเยื่อใยมีความแตกต่างแบบ quadratic (P<0.05) และความสามารถในการย่อยได้ของเยื่อใย NDF และเยื่อใย ADF พบว่า อาหารข้นที่เสริมรำข้าว 10% มีค่ามากกว่าระดับการเสริมอื่น ๆ (P<0.05) จากการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่าอาหารข้นที่เสริมรำข้าวขาว 10% เหมาะสมในการเสริมสำหรับโคเนื้อen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectรำข้าวขาวen_US
dc.subjectอาหารข้นen_US
dc.subjectเทคนิคถุงไนล่อนen_US
dc.subjectความสามารถในการย่อยได้ในตัวสัตว์en_US
dc.subjectโคเนื้อen_US
dc.titleผลของการเสริมราข้าวขาวต่อการย่อยสลายในกระเพาะรูเมนและการย่อยได้ของโภชนะในโคเนื้อen_US
dc.title.alternativeEffects of White Rice Bran Supplementation on Ruminal Degradability and Nutrient Digestibility in Beef Cattleen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.