Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66940
Title: ปัจจัยและเงื่อนไขที่มีผลต่อแรงจูงใจของทันตแพทย์ในการเข้าร่วมเป็นอาจารย์สมทบในกระบวนวิชาทันตกรรมชุมชนปฏิบัติ (DCOP602): การศึกษาเชิงคุณภาพ
Other Titles: Factors and Conditions Related to Community Dentists’ Motivation for Involving in the Community Dentistry Practice Course: A Qualitative Study
Authors: ศศิธร ไชยประสิทธิ์
ปิ่นปินัทธ์ วณิชย์สายทอง
อุทัยวรรณ กาญจนกามล
กันยารัตน์ คอวนิช
ปิยะนารถ จาติเกตุ
ทรงวุฒิ ตวงรัตนพันธ์
ธิดาวรรณ วิวัฒน์คุณูปการ
พัชราวรรณ ศรีศิลปนันทน์
วิชัย วิวัฒน์คุณูปการ
อติศักดิ์ จึงพัฒนาวดี
อารีรัตน์ นิรันต์สิทธิรัชต์
Authors: ศศิธร ไชยประสิทธิ์
ปิ่นปินัทธ์ วณิชย์สายทอง
อุทัยวรรณ กาญจนกามล
กันยารัตน์ คอวนิช
ปิยะนารถ จาติเกตุ
ทรงวุฒิ ตวงรัตนพันธ์
ธิดาวรรณ วิวัฒน์คุณูปการ
พัชราวรรณ ศรีศิลปนันทน์
วิชัย วิวัฒน์คุณูปการ
อติศักดิ์ จึงพัฒนาวดี
อารีรัตน์ นิรันต์สิทธิรัชต์
Keywords: กระบวนวิชาทันตกรรมชุมชนปฏิบัติ;ทันตแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน;พี่เลี้ยง;แรงจูงใจ
Issue Date: 2562
Publisher: คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 40,1 (ม.ค.-เม.ย. 2562) 97-111
Abstract: กระบวนวิชาทันตกรรมชุมชนปฏิบัติเป็นกระบวนวิชาที่มีลักษณะเฉพาะ คือเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างอาจารย์มหาวิทยาลัยและทันตแพทย์ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และที่สําคัญเน้นให้นักศึกษาได้เรียนรู้การทํางานกับชุมชน โดยสัมพันธ์กับแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพ อันก้าวพ้นไปจากความคุ้นเคยและประสบการณ์เดิมของทันตแพทย์ที่มีต้นทุนเพียงการดูแลช่องปาก งานวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขที่มีผลต่อแรงจูงใจของทันตแพทย์ดังกล่าว โดยทําการศึกษาในทันตแพทย์ที่เข้าร่วมในการจัดการเรียนการสอนในวิชาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง จํานวน 21 คน และครอบคลุมตั้งแต่ผู้ที่มีประสบการณ์ร่วมในการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่เริ่มดําเนินการจนถึงปัจจุบัน การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาข้อมูลเอกสารร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกในผู้ที่ริเริ่มหลักสูตรในส่วนของมหาวิทยาลัยและทันตแพทย์ที่เข้าร่วมในการเตรียมการหลักสูตร จากนั้นทําการสนทนากลุ่มกับทันตแพทย์ที่คัดเลือกอย่างเฉพาะเจาะจง ทําการเก็บข้อมูลในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกันยายน 2556 รวมระยะเวลา 5 เดือน จากการศึกษามีข้อค้นพบหลักที่สําคัญ 3 ประการ ดังนี้ 1) กระบวนการจัดการในส่วนของฝ่ายอาจารย์มหาวิทยาลัยที่ยืดหยุ่นและใช้ความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการมีความสําคัญต่อแรงจูงใจในการเข้าร่วมจัดการเรียนรู้ของทันตแพทย์ในพื้นที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเริ่มต้น 2) แรงจูงใจส่วนบุคคลของทันตแพทย์พี่เลี้ยงที่เข้าร่วมในการเรียนการสอน ส่วนใหญ่มาจากแรงจูงใจที่เกี่ยวโยงกับความสําเร็จในหน้าที่การงาน หรือที่เรียกว่าแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เช่น ความต้องการถ่ายทอดความคิดและความรู้ที่มาจากประสบการณ์ในการทํางาน และมีบางส่วนที่เป็นแรงจูงใจอันเกิดมาจากความรู้สึกผูกพัน หรือที่เรียกว่า แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ เช่น ความต้องการช่วยเหลือหรือตอบแทนสถาบันการศึกษาที่ตนสําเร็จมา 3) เงื่อนไขแวดล้อมที่ผลักดันแรงจูงใจส่วนบุคคลของทันตแพทย์มาสู่การปฏิบัติ ประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล และนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัดที่ต่อการรับนักศึกษาฝึกปฏิบัติงาน
Description: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม
URI: http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2562_40_1_507.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66940
ISSN: 0857-6920
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.