Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66939
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorกิติศักดิ์ วาทโยธาen_US
dc.contributor.authorศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตรen_US
dc.date.accessioned2019-12-03T08:56:54Z-
dc.date.available2019-12-03T08:56:54Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่ทันตแพทยสาร 40,1 (ม.ค.-เม.ย. 2562) 81-96en_US
dc.identifier.issn0857-6920en_US
dc.identifier.urihttp://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2562_40_1_506.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66939-
dc.descriptionเชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคมen_US
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ใช้รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลองเพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนอายุ 12 ปี เขตพื้นที่อําเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกําแพงเพชร เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยเลือกโรงเรียนที่มีคุณสมบัติคล้ายกัน 2 โรงเรียน จากนั้นสุ่มเลือกนักเรียนที่มีอายุ 12 ปีที่กําลังศึกษาอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนละ 30 คนเพื่อเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและกลุ่มควบคุมได้รับการให้ทันตสุขศึกษาตามปกติ การเก็บรวบรวมข้อมูลกระทํา 2 ครั้ง คือก่อนการทดลองและหลังการทดลองโดยใช้แบบประเมินความรู้ แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน แบบบันทึกพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากและแบบบันทึกการตรวจคราบจุลินทรีย์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติที ผลการศึกษาพบว่าภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก กลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก คะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลสุขภาพช่องปาก และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมในการตรวจฟันอย่างง่ายสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรม และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการแปรงฟันสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม และพบว่าภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยปริมาณคราบจุลินทรีย์ต่ํากว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมและต่ํากว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การศึกษาวิจัยในครั้งนี้สามารถพิสูจน์ให้เห็นว่าโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก สามารถเพิ่มคะแนนเฉลี่ยความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก คะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลสุขภาพช่องปากและคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมในการตรวจฟันอย่างง่าย และสามารถลดค่าเฉลี่ยปริมาณคราบจุลินทรีย์ของนักเรียนอายุ 12 ปี ในเขตพื้นที่อําเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกําแพงเพชรen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากen_US
dc.subjectการรับรู้สมรรถนะแห่งตนen_US
dc.subjectพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากนักเรียนอายุ 12 ปีen_US
dc.titleประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนอายุ 12 ปี เขตพื้นที่อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชรen_US
dc.title.alternativeEffectiveness of an Oral Health Promotion Program on Oral Health Behavior Among 12 Year-old Students in Kosamphi Nakhon District, Kamphaeng Phet Provinceen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.