Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66937
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorชฎาพร ไชยลังกาen_US
dc.contributor.authorศิริมาศ ชัยชมen_US
dc.contributor.authorเสาวลักษณ์ พิมขันท์en_US
dc.contributor.authorเกวลิน คุณาศักดากุลen_US
dc.date.accessioned2019-12-03T08:56:54Z-
dc.date.available2019-12-03T08:56:54Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationวารสารเกษตร 35, 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2562), 375-383en_US
dc.identifier.issn0857-0841en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/215937/150717en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66937-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1en_US
dc.description.abstractเก็บรวบรวมพันธุ์มันเทศจากสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 2 สายพันธุ์ ได้แก่ SP02 (เนื้อสีม่วง) และ SP08 (เนื้อสีเหลือง) นำมาปลูกภายในโรงเรือนเป็นเวลา 90 วัน พบใบพืชแสดงอาการจุดสีเหลืองและจุดสีม่วง เมื่อตรวจวินิจฉัยด้วยเทคนิค PCR พบว่าเกิดจากการเข้าทำลายร่วมกันของไวรัส Sweet potato chlorotic stunt virus (SPCSV) และ Sweet potato feathery mottle virus (SPFMV) การประเมินความรุนแรงของอาการโรคดังกล่าวด้วยเกณฑ์ 5 ระดับ ที่ 0-4 (ปกติ-รุนแรงที่สุด) ในตัวอย่างใบมันเทศแต่ละสายพันธุ์ ๆ ละ 100 ใบ ไม่พบใบพืชที่ปกติ ระดับความรุนแรงที่พบมากที่สุดในสายพันธุ์ SP02 และ SP08 คือระดับ 2 เท่ากับ 48 และ 45% ตามลำดับ จากการนำต้นมันเทศในสภาพเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อร่วมกับการใช้ความร้อน (37 oC เป็นเวลา 30 วัน) และไม่ใช้ความร้อน มาตัดเนื้อเยื่อเจริญปลายยอดขนาด 0.3, 0.5 และ 1 mm เพาะเลี้ยงบนอาหาร MS และตรวจสอบการปลอดไวรัสด้วยเทคนิค PCR พบว่าการตัดเนื้อเยื่อเจริญปลายยอดขนาด 0.5 และ 1 mm มีการปลอดไวรัสทั้งสองชนิด 90.9-100% อย่างไรก็ตามการใช้ความร้อนและการตัดเนื้อเยื่อเจริญขนาด 0.3 mm ส่งผลให้อัตราการมีชีวิตรอดของพืชต่ำลงเหลือเพียง 37.5% ส่วนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อเพิ่มปริมาณมันเทศปลอดไวรัส พบว่า อาหาร MS ที่เติม IAA 0.5 mg/l และ GA3 1 mg/l สามารถเพิ่มปริมาณมันเทศได้ดีที่สุดในทั้งสองสายพันธุ์ มีจำนวนข้อเฉลี่ย 11.1 และ 13.8 ข้อต่อต้น ตามลำดับen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectมันเทศen_US
dc.subjectไวรัส SPFMV และ SPCSVen_US
dc.subjectต้นอ่อนพืชปลอดไวรัสen_US
dc.titleการผลิตมันเทศปลอดไวรัส SPFMV และ SPCSV โดยใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อen_US
dc.title.alternativeProduction of SPFMV-free and SPCSV-free Sweet Potato Using Tissue Culture Techniquesen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.