Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66931
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพรสวรรค์ อุ่นศิลป์en_US
dc.contributor.authorศิรินทร์ยา มีสวัสดิ์en_US
dc.contributor.authorเกวลิน คุณาศักดากุลen_US
dc.date.accessioned2019-12-03T08:56:54Z-
dc.date.available2019-12-03T08:56:54Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationวารสารเกษตร 35, 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2562), 385-393en_US
dc.identifier.issn0857-0841en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/215938/150718en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66931-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1en_US
dc.description.abstractนำหัวพันธุ์ดองดึงจากศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ มาปลูกภายใต้โรงเรือนกันแมลง หลังปลูกได้ 90 วัน พบใบแสดงอาการด่างเป็นทางยาวตามแนวเส้นใบ รูปร่างบิดเบี้ยว ส่วนของกลีบดอกแสดงอาการด่างสีซีด จากการประเมินระดับความรุนแรงโดยแบ่งเป็น 5 ระดับ (0-4) พบว่าระดับความรุนแรงมากที่สุด คือ ระดับ 3 คิดเป็น 33.75 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา ได้แก่ ระดับ 4, 2, 1 และ 0 คิดเป็น 25, 20, 13.75 และ 7.5 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และพบว่าความรุนแรงในระดับสูงส่งผลให้จำนวนดอกต่อต้นน้อยลง การตรวจสอบชนิดไวรัสด้วยเทคนิค ELISA พบเกิดจากไวรัส Cucumber mosaic virus (CMV) เมื่อศึกษาวิธีการกำจัดไวรัส CMV โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเจริญปลายยอดขนาด 0.3 มิลลิเมตร การเพาะเลี้ยงยอดจากหัวพันธุ์ขนาด 0.5 เซนติเมตร ในอาหาร MS ที่ผสมสารริบาวิริน (ribavirin) ที่ความเข้มข้น 20 และ 40 มิลลิกรัมต่อลิตร จากตรวจสอบการปลอดไวรัสด้วยเทคนิค RT-PCR พบว่าต้นที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเจริญปลายยอดขนาด 0.3 มิลลิเมตร และการเพาะเลี้ยงยอดจากหัวพันธุ์ขนาด 0.5 เซนติเมตร ในอาหาร MS ที่ผสมสารริบาวิริน 40 มิลลิกรัมต่อลิตร มีอัตราปลอดไวรัส 100 เปอร์เซ็นต์ และมีชีวิตรอดหลังการเพาะเลี้ยง 75 และ 100 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ สำหรับสูตรอาหารที่เหมาะสมต่อการเจริญของดองดึง ได้แก่ อาหาร MS ที่เติม BAP 3.0 มิลลิกรัมต่อลิตร และ NAA 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยมีการเพิ่มจำนวนยอดเฉลี่ยสูงสุด 2.27 ยอดต่อต้น และจำนวนหัวเฉลี่ยสูงสุด 2.20 หัวต่อต้น หลังเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 12 สัปดาห์en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectดองดึงen_US
dc.subjectการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อen_US
dc.subjectต้นอ่อนพืชปลอดไวรัส CMVen_US
dc.titleการผลิตดองดึง (Gloriosa rothschildianaO’ Brien) ปลอดไวรัส CMVโดยใช้เทคนิคเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อen_US
dc.title.alternativeProduction of CMV-free Gloriosa rothschildianaO’ Brien UsingTissue Culture Techniquesen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.