Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66907
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสงกรานต์ ป้องบุญจันทร์en_US
dc.date.accessioned2019-12-03T06:32:24Z-
dc.date.available2019-12-03T06:32:24Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationนิติสังคมศาสตร์ 11, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2562), 55-86en_US
dc.identifier.issn2586-9604en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/CMUJLSS/article/view/104703/97424en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66907-
dc.descriptionCMU Journal of Law and Social Sciences รับพิจารณาบทความวิชาการ และบทปริทัศน์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยขอบเขตเนื้อหาทางวิชาการของCMU Journal of Law and Social Sciences จะครอบคลุมเนื้่อหา เกี่ยวกับกฎหมายทุกสาขา เช่น กฎหมายมหาชน กฎหมายเอกชน กฎหมายอาญา กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งสัมพันธ์กับความรู้ทางด้านสังคมศาสตร์ในสาขาต่างๆen_US
dc.description.abstractบทความนี้มุ่งตอบคำถามว่ารัฐไทยมีกฎหมายและกลไกที่เพียงพอต่อการปกป้องคุ้มครองสิทธิในการมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีของประชาชนจากผลกระทบข้ามพรมแดนที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการพัฒนาที่อยู่นอกเขตประเทศไทยหรือไม่อย่างไร บทความนี้ใช้กรณีเหมืองถ่านหินและโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสา แขวงไซยะบุรี ประเทศลาวเป็นกรณีศึกษา จากการศึกษาพบว่าระบบกฎหมาย กลไกฝ่ายบริหารและองค์กรตุลาการของไทย ให้การยอมรับว่าสิทธิในการมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีของประชาชนไทยเป็นสิทธิที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายระดับพระราชบัญญัติได้รับรองและคุ้มครองไว้อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน โดยรัฐไทยได้จัดตั้งหน่วยงานขึ้นหลายหน่วยงานเพื่อรับผิดชอบดำเนินการให้สิทธิดังกล่าวได้รับการปกป้องคุ้มครองจริง องค์กรตุลาการทั้งศาลยุติธรรมและศาลปกครองได้ตั้งแผนกสิ่งแวดล้อมและจัดทำแนวทางการพิจารณาคดีเฉพาะขึ้นมาใช้ในการพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อมเพื่อให้การดำเนินคดีมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยภาพรวมรัฐไทยให้ความสำคัญกับสิทธิในการมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีและมีการดำเนินการเพื่อปกป้องและคุ้มครองสิทธิดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาปัญหาผลกระทบข้ามพรมแดนที่อาจเกิดจากโครงการขนาดใหญ่ เช่น โครงการเหมืองถ่านหินและโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสา แขวงไซยะบุรี ประเทศลาว ที่ตั้งอยู่ห่างจากชายแดนไทยประมาณ 27 กิโลเมตร ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อสิทธิในการมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีของประชาชนไทย กลับพบว่ารัฐไทยไม่มีกฎหมาย กลไกฝ่ายบริหารหรือองค์กรตุลาการที่ออกแบบมาเพื่อจัดการกับปัญหาประเภทนี้โดยเฉพาะ อีกทั้งเมื่อพิจารณากฎหมายและกลไกที่มีอยู่ก็พบว่ามีข้อจำกัดหลายประการที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการปกป้องคุ้มครองสิทธิของประชาชน ในแง่นี้จึงกล่าวได้ว่าระบบกฎหมายที่เป็นอยู่ของรัฐไทย ไม่อาจให้หลักประกันในการปกป้องคุ้มครองสิทธิในการมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีจากปัญหาผลกระทบข้ามพรมแดนได้ รัฐไทยจึงจำเป็นต้องทำข้อตกลงกับประเทศเพื่อนบ้าน ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและกลไกบริหารบางประการเพื่ออุดช่องว่างในการคุ้มครองสิทธิในการมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectสิทธิในการมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีen_US
dc.subjectผลกระทบข้ามพรมแดนen_US
dc.subjectมลพิษข้ามพรมแดนen_US
dc.subjectคดีสิ่งแวดล้อมen_US
dc.titleกลไกทางกฎหมายกับการคุ้มครองสิทธิในการมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีจากมลพิษข้ามพรมแดนของประเทศไทย: กรณีศึกษาเหมืองถ่านหินและโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสา แขวงไซยะบุรี ประเทศลาวen_US
dc.title.alternativeLegal Mechanisms to Protect Right to Live in the Decent Environment from Transboundary Pollution: A Case Study of Hong Sa Coal Mining and Coal Power Plant in Xayaburi Province, Lao PDRen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.