Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66904
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ดวงเด่น นาคสีหราช | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-12-03T06:32:24Z | - |
dc.date.available | 2019-12-03T06:32:24Z | - |
dc.date.issued | 2562 | en_US |
dc.identifier.citation | นิติสังคมศาสตร์ 12, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2562), 135-171 | en_US |
dc.identifier.issn | 2672-9245 | en_US |
dc.identifier.uri | https://www.tci-thaijo.org/index.php/CMUJLSS/article/view/137363/139961 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66904 | - |
dc.description | CMU Journal of Law and Social Sciences รับพิจารณาบทความวิชาการ และบทปริทัศน์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยขอบเขตเนื้อหาทางวิชาการของCMU Journal of Law and Social Sciences จะครอบคลุมเนื้่อหา เกี่ยวกับกฎหมายทุกสาขา เช่น กฎหมายมหาชน กฎหมายเอกชน กฎหมายอาญา กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งสัมพันธ์กับความรู้ทางด้านสังคมศาสตร์ในสาขาต่างๆ | en_US |
dc.description.abstract | การกลั่นแกล้งรังแกทางอินเทอร์เน็ตเป็นปัญหาร้ายแรงและเป็นเครื่องมือในการข่มขู่คุกคามหรือทำให้เกิดความหวาดกลัวและได้รับความเสียหายในรูปแบบใหม่ด้วยการติดต่อสื่อสารผ่านช่องทางเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตโดยส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ลักษณะต่างๆ ผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ เช่น เว็บไซต์ในคอมพิวเตอร์ บล็อก จดหมายอิเล็กทรอนิคส์ และข้อความสั้นหรือสื่อสังคมออนไลน์ เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มวัยรุ่น การศึกษาวิจัยนี้มุ่งศึกษามาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและควบคุมการกลั่นแกล้งรังแกทางอินเทอร์เน็ตในต่างประเทศ ได้แก่ แคนาดา สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร เปรียบเทียบกับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ของไทยจากการศึกษาวิจัยพบว่าการปกปิดตัวตนในโลกไซเบอร์เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการกลั่นแกล้งรังแกทางอินเทอร์เน็ตได้อย่างต่อเนื่องและซ้ำๆ ได้ง่ายและสะดวกกว่าการกลั่นแกล้งรังแกในแบบดั้งเดิมและผู้กระทำไม่จำเป็นต้องมีอำนาจทางกายภาพมากกว่าผู้ตกเป็นเหยื่อ นอกจากนี้ผลกระทบของการกลั่นแกล้งรังแกทางอินเทอร์เน็ตยังกระทบทั้งทางร่างกาย จิตใจของผู้ตกเป็นเหยื่อและกระทบต่อความสัมพันธ์ทางสังคมด้วย สำหรับทัศนคติของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามนั้น ส่วนใหญ่เห็นว่าการกลั่นแล้งรังแกทางอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องการแกล้งธรรมดาเท่านั้น กล่าวคือการหยอกล้อซึ่งบุคคลมีสิทธิทำได้ยกเว้นนิสิตที่เคยตกเป็นเหยื่อด้วยตนเองแม้ปัจจุบันจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ยังไม่ชัดเจนเพียงพอในการป้องกันและควบคุมการกระทำความผิดดังกล่าวในหลายๆ กรณี เช่น มาตรา 16 บัญญัติแต่เฉพาะการเผยแพร่ภาพ ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงภาพทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง อับอาย ถูกเกลียดชัง แต่มิได้บัญญัติให้รวมถึงการโพสต์ข้อความหรือภาพที่ทำให้ผู้ถูกกระทำรู้สึกหดหู่หรือด้อยค่าจากการกลั่นแกล้งรังแกทางอินเทอร์เน็ตแต่ไม่ถึงขนาดทำให้ผู้ถูกกระทำเสียชื่อเสียงโดยตรงหรือความเสียหายทางจิตใจด้วย นอกจากนี้ประเทศไทยยังไม่มีหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการป้องกันและควบคุมเรื่องดังกล่าวอย่างชัดแจ้งและมีประสิทธิภาพ | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การกลั่นแกล้งรังแกทางอินเทอร์เน็ต | en_US |
dc.subject | การคุกคามออนไลน์ | en_US |
dc.subject | อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ | en_US |
dc.title | ทัศนคติและปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมการกลั่นแกล้งรังแกทางอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย : ศึกษากรณีนิสิตในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม | en_US |
dc.title.alternative | The Attitude and Legal Problem on the Prevention and Control of Cyberbullying in Thailand: Study of Students in Mahasarakham University | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.