Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66883
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเนตรนภา ศรีสองสมen_US
dc.contributor.authorเยาวลักษณ์ จันทร์บางen_US
dc.contributor.authorไสว บูรณพานิชพันธุ์ ไสว บูรณพานิชพันธุ์en_US
dc.date.accessioned2019-12-03T06:32:23Z-
dc.date.available2019-12-03T06:32:23Z-
dc.date.issued2554en_US
dc.identifier.citationวารสารเกษตร 27, 2 (มิ.ย. 2554),155-164en_US
dc.identifier.issn0857-0844en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00113_C00826.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66883-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1en_US
dc.description.abstractการทดสอบในห้องปฏิบัติการเพื่อประเมินประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลง malathion, pirimiphos-methyl, permethrin และ deltamethrin ในการกำจัดมอดแป้ง Tribolium castaneum (Herbst) ที่รวบรวมจากโรงเก็บข้าวโพดในจังหวัดเชียงราย พะเยา และเพชรบูรณ์ พบว่า สารฆ่าแมลง pirimiphos-methyl มีประสิทธิภาพในการกำจัดตัวเต็มวัยมอดแป้งมากที่สุด โดยความเข้มข้นในอัตราที่แนะนำให้ใช้สามารถฆ่ามอดแป้งจากจังหวัดเชียงราย พะเยา และเพชรบูรณ์ ได้สูงสุดคือ 67.0, 85.0 และ 77.5 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพรองลงมาตามลำดับคือ deltamethrin, permethrin และ malathion นอกจากนี้ ยังพบว่า มอดแป้งจากจังหวัดเชียงรายและพะเยา แสดงแนวโน้มต้านทานต่อสารฆ่าแมลง permethrin และ malathion อีกด้วย และเมื่อใช้ดินเบาจากจังหวัดลำปาง และดินเบาจากประเทศสหรัฐอเมริกา ที่จำหน่ายเป็นการค้าคือ Perma-Guard® ผสมกับสารฆ่าแมลง แต่ละชนิดที่มอดแป้งมีแนวโน้มต้านทาน นำมาทดสอบประสิทธิภาพกับมอดแป้งจากจังหวัดเชียงรายและพะเยา พบว่า การใช้ permethrin, permethrin+ดินเบา (ลำปาง) และ permethrin+ดินเบา (สหรัฐอเมริกา) กับมอดแป้งจากจังหวัดเชียงราย มีค่า LC50 เท่ากับ 15,845, 4,151 และ 2,404 ppm ตามลำดับ ส่วนที่ทดสอบกับมอดแป้งจากจังหวัดพะเยา มีค่า LC50 เท่ากับ 3,181, 2,590 และ 1,709 ppm ตามลำดับ สำหรับการใช้ malathion, malathion+ดินเบา (ลำปาง) และ malathion+ดินเบา (สหรัฐอเมริกา) กับมอดแป้งจากจังหวัดเชียงราย พบว่า มีค่า LC50 เท่ากับ 5,755, 4,565 และ 4,507 ppm ตามลำดับ ส่วนที่ทดสอบกับมอดแป้งจากจังหวัดพะเยา มีค่า LC50 เท่ากับ 6,186, 5,456 และ 5,294 ppm ตามลำดับ จากการทดสอบแสดงให้เห็นว่า ค่า LC50 ของสารฆ่าแมลงที่ใช้ร่วมกับดินเบามีค่าลดลง หมายความว่าการใช้ดินเบาร่วมกับสารฆ่าแมลงสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดมอดแป้งได้ โดยดินเบาจากสหรัฐอเมริกาช่วยเสริมประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงในการกำจัดมอดแป้งได้ดีกว่าดินเบาจากจังหวัดลำปางen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectมอดแป้งen_US
dc.subjectดินเบาen_US
dc.subjectความต้านทานสารฆ่าแมลงen_US
dc.titleประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงบางชนิดและการใช้ร่วมกับดินเบาในการกำจัดมอดแป้งจากโรงเก็บข้าวโพดen_US
dc.title.alternativeEfficacy of some Insecticides and Their Use in Combination with Diatomaceous Earth Against Tribolium castaneum (Herbst) Collected from Corn Silosen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.