Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66870
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะนารถ จาติเกตุ-
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิธร ไชยประสิทธิ์-
dc.contributor.authorมิ่งขวัญ จันทร์ศรีมาen_US
dc.date.accessioned2019-09-23T06:56:27Z-
dc.date.available2019-09-23T06:56:27Z-
dc.date.issued2015-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66870-
dc.description.abstractThis qualitative study purposed to study self-care, both in health and in illness, of people with physical disability in Sansainoi Sub-district, San Sai District, Chiang Mai Province. A semi-structured interview which developed from literature review was used to collect data from 17 participants by purposive sampling. Data collection included general information, the meaning of physical disability, self-care in health and in illness of people. The researcher also observed their contexts and environments, including permitted to record their voice. Data analysis was adapted from the procedure Colaizzi's method. The results divided 17 people with physical disability into 3 groups which consisted of (1) people who spend time at home, (2) people who spend time in bed, and (3) people who can go to anywhere by themselves. The meaning of physical disability was different in each group. Eight respondents who faced the physical disability condition for a long time defined that their disability was normal for their daily life and does not affect for their livelihood. They adapted themselves and minds for living. Meanwhile, 9 people who just faced the physical disability condition described their disability in different meaning. They defined their disability as abnormality that was not able to do normal life. This meaning affected to their activities and minds such as increasing their stress and revolving around their disability. Thus, they had to depend on family, volunteers and health professionals. Meanwhile, self-care in health of all participants which included health promotion and disease prevention was determined by their daily life. Self-care in illness relied on the severity of disease. Decision for treatment related to their families and social network. The results from this study will be useful for developing health promotion plan, disease prevention plan and supporting health and government systems for people with physical disability in Sansainoi Sub-district, San Sai District, Chiang Mai Province.en_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectคนพิการen_US
dc.subjectการดูแลสุขภาพen_US
dc.titleการดูแลสุขภาพตนเองของคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย ตำบลสันทรายน้อย อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeSelf-care of People with Physical Disability in Sansainoi Sub-district, San Sai District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc362.4-
thailis.controlvocab.thashคนพิการ -- สุขภาพและอนามัย-
thailis.controlvocab.thashคนพิการ -- การดูแล-
thailis.controlvocab.thashคนพิการ -- สันทราย (เชียงใหม่)-
thailis.controlvocab.thashการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 362.4 ม321ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดูแลสุขภาพตนเองทั้งในภาวะปกติและภาวะป่วยของคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือร่างกาย ตำบลสันทรายน้อย อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง ได้จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ซึ่งพัฒนามาจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยแนวคำถามประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ความหมายของความพิการ การดูแลสุขภาพของตนเองทั้งในเวลาปกติและเมื่อเจ็บป่วย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ ร่วมกับการสังเกตบริบทและสิ่งแวดล้อมที่บ้าน และขออนุญาตบันทึกเสียงไว้ด้วย การวิเคราะห์ข้อมูลดัดแปลงจากขั้นตอนของโคไลซี่ ผลการศึกษาพบว่าคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกายทั้งหมด 17 คน ประกอบด้วยกลุ่มคนพิการ 3 ประเภท ได้แก่ คนพิการประเภทติดเตียง คนพิการประเภทติดบ้าน คนพิการที่สามารถไปไหนมาไหนได้แต่เสี่ยงอันตราย โดยคนพิการได้ให้ความหมายของความพิการและการดูแลสุขภาพตนเอง ในภาวะปกติ และภาวะป่วย ดังนี้ ความพิการเป็นเรื่องปกติ ไม่มีผลต่อการดำรงชีวิต มีทั้งหมด 8 คน ซึ่งคนพิการกลุ่มนี้ ได้เผชิญความพิการเป็นระยะเวลานาน ซึ่งสามารถปรับตัวและจิตใจได้ ต่างจากคนที่เพิ่งเข้าสู่สภาวะความพิการยังไม่สามารถปรับตัวและจิตใจ ได้ให้ความหมายว่า ความพิการเป็นเรื่องไม่ปกติ มีทั้งหมด 9 คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของประเด็นความบกพร่องจากการสูญเสียหรือจากความผิดปกติของโครงสร้างของร่างกายหรือการใช้งานของร่างกาย บ้างก็เกิดความเครียด บ้างก็คิดว่าเป็นเรื่องของเวรกรรม เนื่องจากความพิการ เป็นอุปสรรคในการทำกิจกรรมต่างๆ ทำให้ส่งผลกระทบต่อด้านจิตใจ ทำให้เกิดความลำบากในการทำกิจกรรมของแต่ละบุคคล การดูแลสุขภาพตนเองของคนกลุ่มนี้ จึงต้องพึ่งพิงผู้อื่นมากกว่าพึ่งพิงตนเอง ซึ่งผู้ที่ให้ความช่วยเหลือได้แก่ ครอบครัว อาสาสมัครสาธารณสุข เจ้าหน้าที่สาธารณสุข นอกจากนั้น การดูแลตนเองทั้งในสภาวะปกติซึ่งประกอบด้วยการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคขึ้นอยู่กับความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน และเมื่อเจ็บป่วย ความรุนแรงของการเจ็บป่วยมีผลต่อการตัดสินใจเลือกการรักษา ทั้งนี้ การตัดสินใจในการเลือกการรักษายังขึ้นอยู่กับตนเอง ครอบครัว และเครือข่ายทางสังคมด้วย ผลที่ได้จากการศึกษานี้ จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อคนพิการในพื้นที่ ตำบลสันทรายน้อย อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาแผนการดำเนินงานคนพิการ ทั้งในด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และการให้การรักษาที่เป็นระบบ รวมไปถึงการให้การสนับสนุนของจากทางหน่วยงานราชการต่างๆ ตามความจำเป็น เร่งด่วน ทำให้คนพิการได้รับการดูแลและเข้าถึงอย่างแท้จริงจากทางชุมชนen_US
Appears in Collections:GRAD-Health Sciences: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf2.96 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.