Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66856
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อาจารย์ ดร.จันทนา สุทธิจารี | - |
dc.contributor.author | เอกภาคย์ ภาคพิชเจริญ | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-09-23T04:01:34Z | - |
dc.date.available | 2019-09-23T04:01:34Z | - |
dc.date.issued | 2015-12 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66856 | - |
dc.description.abstract | This study aimed to investigate the problems and obstacles in the implementation of the arrest postponement on illegal immigrants by the police officers in Mueang Chiang Mai and the possible solutions. The participants in this mixed method research, chosen by purposive sampling, were officers responsible for implementing the arrest postponement on illegal immigrants from Chiang Mai Immigration Bureau, Provincial Police Region 5, Chiang Mai Provincial Police Office, and Police stations including Bhuping Palace, Chiang Phuek, Mae Ping, and Muang Chiang Mai. They were divided into two groups: 67 implementers of the arrest postponement on illegal immigrants and 7 administrators. In addition, the data was collected by a survey questionnaire and an interview. For data analysis, statistical analysis was implemented for the quantitative data, and descriptive analysis was used for the qualitative data. The data revealed that the problems in terms of the characteristics and the objectives of the implementing policies, the structure of the organizations, the capacity of the organizations, and the relationships among the implementing organizations was at a moderate level. The average scores were 3.13, 3.11, 3.15, and 3.10, respectively. The scores leaned toward high to the highest. For the resources of the organizations, the problems were at a moderate level with the average score of 2.97. The score leaned toward low to the lowest. The obstacles in implementing the arrest postponement on illegal immigrants were also at a low level with the average score of 2.65 leaned toward low to the lowest. Others problems and obstacles included the unclear objectives and changeable policies which decreased the confidence of the implementers and there was not any main responsible organization. Furthermore, the business owners and the immigrant workers did not follow the laws, that is, they did not register which caused criminal and health problems, for example. Therefore, it can be suggested that the implementers and the administrators should have knowledge and understanding of the objectives of the changing policies to prevent any confusion in the implementation, and the law should be seriously enforced. In addition, the number of the immigrant workers should be controlled. When there are changes of the policies, the measures should be clear. Furthermore, the registered workers should have limited scope of work and there should be clear regulations concerning leaving the work area. In terms of database system, there should be a correct statistical data and an online immigrant worker register system. For society, the funds related to immigrant workers should be used to solve problems caused by the increasing number of immigrant workers, for example, in education, transportation system, and public health. | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | กฎหมาย | en_US |
dc.subject | นโยบายผ่อนผันการจับกุม | en_US |
dc.subject | แรงงานต่างด้าว | en_US |
dc.subject | ตำรวจ | en_US |
dc.title | ปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายตามนโยบายผ่อนผันการจับกุมแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายของเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Problems and Obstacles in the Implementation of Arrest Postponement on Illegal Immigrants by Police Officers in Mueang Chiang Mai District | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.classification.ddc | 331.62 | - |
thailis.controlvocab.thash | แรงงานต่างด้าว -- การจับกุม -- เมือง (เชียงใหม่) | - |
thailis.controlvocab.thash | แรงงานต่างด้าว -- การจ้างงาน | - |
thailis.controlvocab.thash | ตำรวจ -- เชียงใหม่ | - |
thailis.manuscript.source | ว/ภน 331.62 ภ216ป | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายตามนโยบายผ่อนผันการจับกุมแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย และแนวทางในการแก้ไขปัญหาของเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ทั้งการวิจัยเชิงสำรวจและเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูล แบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ทั้งหมด ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติตามนโยบายผ่อนผันการจับกุมแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ซึ่งได้แบ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ปฏิบัติตามกฎหมายและแนวทางนโยบายการผ่อนผันการจับกุมแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย จำนวน 67 คน และกลุ่มผู้บริหาร รวมทั้งสิ้น 7 คน จากหน่วยงานสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเชียงใหม่ กองบังคับการตำรวจภูธรภาค 5 กองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ สถานีตำรวจภูธรภูพิงค์ราชนิเวศน์ ช้างเผือก แม่ปิง และเมืองเชียงใหม่ ข้อมูลเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์โดยใช้ค่าทางสถิติ ข้อมูลเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์โดยการพรรณนาบรรยายสรุป ผลการศึกษา พบว่า ปัญหาด้านลักษณะและวัตถุประสงค์ของนโยบายต่อการปฏิบัติงาน ด้านโครงสร้างองค์กร ด้านคุณลักษณะสมรรถนะของหน่วยงาน และด้านความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรในกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติ ของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลอยู่ในระดับ ปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 3.13 3.11 3.15 และ 3.10 ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยโดยรวมที่พบนั้น มีแนวโน้มไปทางมากถึงมากที่สุด ส่วนปัญหาด้านทรัพยากรขององค์กร อยู่ในระดับ ปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 2.97 ค่าเฉลี่ยโดยรวมที่พบนั้น มีแนวโน้มไปทางน้อยถึงน้อยที่สุด ส่วนอุปสรรคต่อการปฏิบัติตามนโยบายผ่อนผันแรงงานต่างด้าว อยู่ในระดับ ปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 2.65 ค่าเฉลี่ยโดยรวมที่พบนั้น มีแนวโน้มไปทางน้อยถึงน้อยที่สุด สรุปปัญหาและอุปสรรคอื่นๆ ได้แก่ ความไม่ชัดเจนในวัตถุประสงค์และนโยบายที่เปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติขาดความมั่นใจในการทำงาน ประกอบกับไม่มีหน่วยงานใดรับผิดชอบเป็นเจ้าภาพหลัก ส่วนผู้ประกอบการ และแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายก็เพิกเฉย ไม่ไปขึ้นทะเบียนแรงงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย ผลที่เกิดตามมาได้แก่ ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาการจราจร ปัญหาด้านสาธารณสุข เป็นต้น ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษา คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ ความเข้าใจวัตถุประสงค์ที่แท้จริง ของนโยบายที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในการนำนโยบายไปปฏิบัติ ควรมีการบังคับใช้กฎหมายให้เข้มงวดมากขึ้น มีการควบคุมปริมาณแรงงานต่างด้าวให้อยู่ปริมาณที่แน่นอน หากมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายควรมีมาตรการที่ชัดเจน แรงงานต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียนแล้วควรจำกัดขอบเขตการทำงาน การออกนอกพื้นที่ควรออกกฎระเบียบให้ชัดเจน ระบบข้อมูล ควรมีสถิติข้อมูลที่แน่นอน ควรมีการสร้างระบบทะเบียนแรงงานต่างด้าวระบบออนไลน์ สามารถเช็คในฐานข้อมูลได้รวดเร็วทุกด้านเพื่อสะดวกในการปฏิบัติงาน ในด้านสังคมควรมีการนำงบประมาณจากกองทุนที่เกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวมาใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเพิ่มจากจำนวนแรงงานต่างด้าวที่เข้ามา เช่น พัฒนาระบบการศึกษา ระบบการคมนาคม และด้านสาธารณสุข | en_US |
Appears in Collections: | POL: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Full.pdf | 2.9 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.