Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66788
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุนัน ปานสาคร "en_US
dc.contributor.authorจตุรงค์ ลังกาพินธุ์en_US
dc.contributor.authorเจริญพร สมบัติหอมen_US
dc.contributor.authorอภิสิทธิ์ มากเมืองen_US
dc.date.accessioned2019-09-17T08:55:04Z-
dc.date.available2019-09-17T08:55:04Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationวารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 26, 2 (พ.ค.-ส.ค. 2562), 157-166en_US
dc.identifier.issn2672-9695en_US
dc.identifier.urihttp://researchs.eng.cmu.ac.th/UserFiles/File/Journal/26_2/14.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66788-
dc.descriptionวารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น ได้รับการยอมรับอยู่ในฐานข้อมูล Thailand Citation Index (TCI) กลุ่มที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีen_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มุ่งเน้นการพัฒนาเครื่องขึ้นรูปสาคูไส้หมูกึ่งอัตโนมัติเพื่อให้ได้ผลิตภัณ ฑ์สาคูไส้หมูที่มีรูปร่างใกล้เคียงทรงกลม ลดเวลาและแรงงานในการผลิตสาคูไส้หมูเพื่อการผลิตในระดับอุตสาหกรรมและกึ่งอุตสาหกรรม เครื่องต้นแบบ ประกอบด้วย โครงสร้างเครื่อง ส่วนอัดแป้ง ส่วนอัดไส้สาคูชุดขึ้นรูปสาคูไส้หมูระบบส่งกำลัง และใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกำลังจำนวน 2 ตัวขนาด 1.0 แรงม้า สำหรับส่วนอัดแป้งและไส้และขนาด 0.5 แรงม้าสำหรับชุดขึ้นรูปสาคูไส้หมู การทำงานของเครื่องเริ่มจากการป้อนแป้งสาคูและไส้ลงถังบรรจุจากนั้นแป้งสาคูและไสจ้ะถูกอัดผ่านท่อลำเลียงที่ออกแบบ ให้มีลักษณะเป็นท่อสองชั้น ชั้นนอกเป็นส่วนของแป้ง และชั้นในเป็นส่วนของไส้โดยอตัราการไหลของแป้งขึ้นอยู่กับ ความหนืด จากผลการทดสอบพบว่าเครื่องต้นแบบสามารถทำงานได้ดีที่สุดโดยการนวดแป้งที่อัตราส่วนแป้งกับน้ำ 1 ต่อ 1 จากนั้นไส้และแป้งถูกส่งไปยังชุดขึ้นรูปสาคูไส้หมูที่ถูกออกแบบมาในลักษณะเบ้าครึ่งทรงกลมขนาดเส้นผ่านศูนยก์ลาง 28 มิลลิเมตร จำนวน 2 ชุด เพื่อทำการกดและอัดให้ได้สาคูไส้หมูที่มีลักษณะเป็นทรงกลม พบว่าชุดเบ้าขึ้นรูปสาคูไส้หมู สามารถทำงานได้ประสิทธิภาพสูงสุดที่ความเร็วรอบ 15 รอบ/นาทีมีอัตราการผลิต 1,842 ลูก/ชั่วโมงความสามารถในการทำงานจริงของเครื่อง 1,481 ลูก/ชั่วโมงและมีเปอร์เซ็นต์ความเสียหาย 20 เปอร์เซ็นต์ในขณะที่เมื่อเพิ่มความเร็วรอบของชุดเบ้าขึ้นรูปสาคูไส้หมูเป็น 20 รอบ/นาทีและ 25 รอบ/นาทีให้ความสามารถในการทำงานจริงของเครื่องลดลงเป็ น 1,048 และ 328 ลูก/ชั่วโมง ตามลำดับ อัตราการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า 0.88 กิโลวัตต์ชั่วโมง จากการวิเคราะห์ผลทาง เศรษฐศาสตร์วิศวกรรมแสดงระยะเวลาคืนทุน 60 วันen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectสาคูไส้หมูen_US
dc.subjectเครื่องขึ้นรูปสาคูไส้หมูen_US
dc.subjectแป้งen_US
dc.subjectเครื่องต้นแบบen_US
dc.subjectความสามารถในการทำงานen_US
dc.titleการพัฒนาเครื่องขึ้นรูปสาคูไส้หมูกึ่งอัตโนมัติen_US
dc.title.alternativeDevelopment of the Semi-Automatic Forming of Sago with Pork Filling Balls Machineen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.