Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66525
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorรฐษร ศรีสมบัติen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:29Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:29Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.citationวารสารสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 30, 1 (ม.ค.-มิ.ย 2561), 31-63en_US
dc.identifier.issn2672-9563en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/163993/118808en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66525-
dc.descriptionวารสารสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ดำเนินการมานับตั้งแต่ปี พ.ศ.2513 มีบรรณาธิการและกองบรรณาธิการ ที่ทำงานร่วมกันทั้งที่มาจากคณาจารย์ในคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอาจารย์นักวิชาการภายนอก จากมหาวิทยาลัยชั้นนำทางด้านสังคมศาสตร์ของประเทศไทย วารสารสังคมศาสตร์ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือเพื่อเผยแพร่บทความวิชาการ หรืองานวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะทางด้านมานุษยวิทยา การศึกษาการพัฒนาทางด้านภูมิศาสตร์ สังคมวิทยา และสตรีศึกษา ที่มีคุณภาพสู่สังคมวงกว้าง ต่อมาในปี 2561 วารสารสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เริ่มจัดทำวารสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online)en_US
dc.description.abstractกลุ่มชาติพันธุ์เมี่ยนมีลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมสำคัญ 2 ประการ คือ 1) การเป็น สังคมแห่งพิธีกรรม การดำรงชีวิตของคนเมี่ยนในรอบปีจะสัมพันธ์กับพิธีกรรมหลายประการโดยเฉพาะพิธีกรรมเกี่ยวกับผีบรรพบุรุษ และ 2) การมีโครงสร้างสังคมแบบ ชายเป็นใหญ่ ผู้ชายเมี่ยนมีบทบาททางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมวัฒนธรรมมากกว่าผู้หญิงเมี่ยน ดังกรณีตำแหน่งหมอผี (ซิบเมี้ยนเมี่ยน) ผู้นำทางพิธีกรรมที่กำหนดให้เป็นตำแหน่งของเพศชายเท่านั้น นับเป็นสิ่งสะท้อนอุดมการณ์ชายเป็นใหญ่ในสังคมแห่งพิธีกรรมของชาวเมี่ยนได้เป็นอย่างดี ดังนั้นเมื่อ หมอผีหญิงเมี่ยน กลุ่มแรกในประเทศไทยเกิดขึ้นจึงเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่ชวนตั้งคำถามว่า กระบวนการเกิดขึ้นของหมอผีหญิงเมี่ยนภายใต้สังคมชายเป็นใหญ่เกิดขึ้นและดำรงอยู่ได้อย่างไร บทความชิ้นนี้พยายามหาคำตอบดังกล่าว ผ่านเครื่องมือวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา เพื่อศึกษากระบวนการเกิดขึ้นและการดำรงอยู่ของ หมอผีหญิงเมี่ยน ในพื้นที่ชุมชนเมี่ยนเก่าแก่หวัดเชียงรายและจังหวัดพะเยา และใช้มโนทัศน์ว่าด้วย อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ และ สถานภาพของผู้หญิง เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์และอภิปรายen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectผู้หญิงเมี่ยนen_US
dc.subjectหมอผีหญิงen_US
dc.subjectพิธีกรรมen_US
dc.titleบทบาทของหมอผีหญิงชาวเมี่ยนในสังคมอุดมการณ์ชายเป็นใหญ่en_US
dc.title.alternativeThe role of Mien Lady Shaman in patriarchal societyen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.