Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66500
Title: การแก้ปัญหาการจัดตารางสอนที่มีนักศึกษาหลายคณะเรียนร่วมกันโดยประยุกต์ใช้วิธีการทางเจเนติกอัลกอริทึม
Other Titles: Solutions to the Timetable that many Students Learn Together by Applying Genetic Algorithms
Authors: สุจรรยา แก้วพรายตา
วนิดา รัตนมณี
Authors: สุจรรยา แก้วพรายตา
วนิดา รัตนมณี
Keywords: การจัดตารางสอน;เจเนติกอัลกอริทึม;ฮิวริสติกส์
Issue Date: 2560
Publisher: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: วารสารวิศวกรรมศาสตร์ 24, 1 (ม.ค.-เม.ย. 2560), 119-129
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาและแกปัญหาการจัดตารางสอน ภายในมหาวิทยาลัยกรณีศึกษาซึ่งมีการจัดตารางสอนในลักษณะให้นักศึกษาทุกคณะเรียนร่วมกันเนื่องมาจากการจัดตารางสอนเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญต่อการดำเนินงาน ด้านการศึกษาให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ปัจจุบันพบว่าการจัดตารางสอนของมหาวิทยาลัยในทุกภาคการศึกษายังมีความ ผิดพลาดในการจัดตารางสอนเกิดขึ้น อันเนื่องมาจากการจัดตารางสอนเป็นกระบวนการที่ค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อนเพราะมี ข้อมูลรายวิชาหลกัสูตรอาจารย์ผู้สอน กลุ่มนักศึกษาและเงื่อนไขที่ต้องพิจารณาเป็นจำนวนมากอีกทั้งในแต่ละปีการศึกษา ก็มีจำนวนนักศึกษาและมีการเปิดรายวิชาเรียนเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่จำนวนห้องเรียนที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนมีปริมาณคงที่ ด้วยเหตุนี้ทำให้มีปัญหาที่พบบ่อยก็คือเวลาการใช้ห้องเรียนซ้ำซ้อนกันจำนวน 269 คร้ัง เวลาสอนของอาจารย์ ซ้ำ ซ้อนกัน จำนวน 358 คร้ังและเวลาเรียนของนักศึกษาซ้ำซ้อนกัน จำนวน 267 คร้ัง งานวิจัยนี้จึงต้องการแก้ปัญหาการจัดตารางสอนนี้โดยนำวิธีการทางเจเนติกอัลกอริทึมมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาโปรแกรมช่วยในการจัดตารางสอนสำหรับ นักศึกษาโดยมีกรณีศึกษาคือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ก็เพื่อนำวิธีการ ทางเจเนติกอัลกอริทึมมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบระบบการจัดตารางสอนในมหาวิทยาลัยที่มีนักศึกษาหลายคณะเรียนร่วมกัน งานวิจัยนี้ทำการจัดตารางสอนให้เฉพาะกับนักศึกษาชั้นปีที่1 ของทุกคณะที่ต้องเรียนร่วมกันซึ่งการนำวิธีการทางเจเนติกอัลกอริทึมมาใช้แก้ปัญหานั้นจะพิจารณาเงื่อนไขบังคับ (Hard constains) และเงื่อนไขเพื่อความสมบูรณ์ (Soft constains) เพื่อทำให้การจัดตารางสอนสามารถใช้ทรัพยากรและจัดตารางสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลตัวอย่างที่ใช้ ในการทดลองประกอบด้วยรายวิชาจำนวน 20 รายวิชา อาจารย์ผู้สอนจำนวน 31 คน กลุ่มนักศึกษาจำนวน 23 กลุ่ม และ ห้องเรียนจำนวน 6 ห้อง มีพารามิเตอร์ที่เหมาะสมเพื่อกำหนดให้เป็นค่าเริ่มต้นของโปรแกรมคือจำนวนประชากรเท่ากับ 1000 โครโมโซม และจำนวนเจนเนอเรชันเท่ากบั 500 เจนเนอเรชันค่าความน่าจะเป็นในการครอสโอเวอร์เท่ากับ 0.8 ค่า ความน่าจะเป็นในการมิวเตชันเท่ากับ 0.3 โดยผลลัพธ์จากงานวิจัยนี้จะทำให้ได้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดตารางสอนสำหรับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่ สามารถลดความผิดพลาดในการจัดตารางสอนได้ 100%
Description: วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น โดยเปิดรับบทความวิชาการทางสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ตลอดทั้งปี
URI: http://researchs.eng.cmu.ac.th/UserFiles/File/Journal/24_1/11.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66500
ISSN: 2672-9695
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.