Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66481
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเบญจรัชต์ บุญธิฟองen_US
dc.contributor.authorชยานนท์ หรรษภิญโญen_US
dc.contributor.authorปิยะพงษ์ วงศ์เมธาen_US
dc.contributor.authorพีรพงศ์ จิตเสงี่ยมen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:29Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:29Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.citationวารสารวิศวกรรมศาสตร์ 24, 2 (พ.ค.-ส.ค. 2560), 139-151en_US
dc.identifier.issn2672-9695en_US
dc.identifier.urihttp://researchs.eng.cmu.ac.th/UserFiles/File/Journal/24_2/13.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66481-
dc.descriptionวารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น โดยเปิดรับบทความวิชาการทางสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ตลอดทั้งปีen_US
dc.description.abstractในการก่อสร้างทางที่ไม่สามารถหาแหล่งวัสดุที่ได้มาตรฐานในพื้นที่ก่อสร้างได้ในระยะใกลันั้นก่อให้เกิดอุปสรรคทั้งในด้านเวลา และค่าใช้จ่ายในการขนส่ง บทความนี้นำเสนอการปรับปรุงสมบัติของดินวัสดุชั้นรองพื้นทางที่มีค่าต่ำกว่ามาตรฐานที่กรมทางหลวงกำหนดไว้โดยใช้ปอร์ตแลนด์ซีเมนต์และยิปซัมเอฟจีดีซึ่งเป็นขยะเหลือทิ้งจาก กระบวนการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน ในอัตราส่วนผสมที่ต่างกัน 3 กลุ่ม คือ ปอร์ตแลนด์ซีเมนต์ร้อยละ 1, 2 และ 3 ของ น้ำหนักดินแห้ง ซึ่งแต่ละกลุ่มทำการเพิ่มยิปซัมเอฟจีดีที่อัตราส่วนร้อยละ 0, 1, 3 และ 5 ของน้ำหนักดินแห้งตามลำดับ การทดสอบเริ่มจาก การทดสอบหากำลังรับแรงอัดแกนเดียวที่อายุการบ่ม 3, 7 และ28 วัน ของทุกสัดส่วนผสมที่มีความชื้น ที่เหมาะสม (Optimum Moisture Content) จากนั้นทำการทดสอบหาค่าซี.บี.อาร์. ของอัตราส่วนผสมที่มีกำลังรับแรงอัดแกนเดียวสูงที่สุดของแต่ละกลุ่มรวมถึงค่าการบวมตัวและตรวจสอบสมบัติทางเคมีของตัวอย่างดินด้วยวิธีการศึกษา โครงสร้างทางจุลภาค (SEM) และตรวจสอบหาองค์ประกอบของแร่ (EDS) จากการศึกษาพบว่า ตัวอย่างที่มีอัตรา ส่วนผสมปอร์ตแลนด์ซีเมนต์ร้อยละ 2 กับยิปซัม เอฟจีดีร้อยละ 5 ที่อายุการบ่ม 28 วัน มีค่ากำลังรับแรงอัดแกนเดียวสูงสุดเท่ากับ 41 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ซึ่งกำลังอัดเพิ่มขึ้น 3.36 เท่า เมื่อเทียบกับดินลูกรังก่อนปรับปรุง และมีค่าซี.บี. อาร์. แบบแห้งร้อยละ 107 ซึ่งเพิ่มขึ้น 1.74 เท่า เมื่อเทียบกับดินลูกรังก่อนปรับปรุง กล่าวคือกำลังรับแรงอัดแกนเดียว และเปอร์เซ็นต์ซี.บี.อาร์. ของตัวอย่างมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มปริมาณปอร์ตแลนด์ซีเมนต์และยิปซัมเอฟจีดีเมื่อตรวจสอบ โครงสร้างทางจุลภาคของตั่อย่างดิน (SEM) พบผลึกลักษณะเป็นแท่งเดี่ยวคล้ายเข็มเกาะกลุ่มกันแทรกอยู่ระหว่างช่องว่างในเม็ดดิน และเมื่อตรวจสอบหาองค์ประกอบของแร่ (EDS) พบว่ามีองค์ประกอบหลักคือ Ca, Al และ S ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของสาร ettringite (6CaO·Al2O3(SO4)3·32H2O) ซึ่งมีผลทำให้กำลังอัดของตัวอย่างทดสอบเพิ่มขึ้น จากผลการทดสอบพบว่าสมบัติของดินทางวิศวกรรม หลังจากการปรับปรุงด้วยปอร์ตแลนด์ซีเมนต์และยิปซัมเอฟจีดีมีค่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กรมทางหลวงได้กำหนดไว้สำหรับดินชั้นรองพื้นทางen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการปรับปรุงen_US
dc.subjectปอร์ตแลนด์ซีเมนต์en_US
dc.subjectยิปซัมเอฟจีดีen_US
dc.titleการปรับปรุงวัสดุชั้นรองพื้นทางที่ต่ำกว่ามาตรฐานโดยการใช้ปอร์ตแลนด์ซีเมนต์ และยิปซัมเอฟจีดen_US
dc.title.alternativeImprovement of Substandard Subbase Material Using Portland Cement and FGD Gypsumen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.