Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66443
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวิทยา สุมะลิen_US
dc.contributor.authorระพี กาญจนะen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:28Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:28Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.citationวารสารวิศวกรรมศาสตร์ 25, 1 (ม.ค.-เม.ย. 2561), 156-165en_US
dc.identifier.issn2672-9695en_US
dc.identifier.urihttp://researchs.eng.cmu.ac.th/UserFiles/File/Journal/25_1/13Wittaya.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66443-
dc.descriptionวารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น โดยเปิดรับบทความวิชาการทางสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ตลอดทั้งปีen_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อลดการเสียรูปของกรอบยึดในกระบวนการประกอบชิ้ นส่วนหน้าจอโทรศัพท์มือถือ โดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการควบคุมคุณภาพเชิงสถิติและการออกแบบการทดลอง ขั้นตอนการดำเนินงานเริ่มต้นจากการใช้แผนภูมิเหตุและผลวิเคราะห์หาสาเหตุที่เป็นไปได้ที่ส่งผลต่อการเสียรูปของกรอบยึด โดยการระดมสมองจากผู้เชี่ยวชาญ และพิจารณาเลือกปัจจัยที่มีลำดับความสำคัญ 5 ลำดับแรกมาทำการศึกษาและวิเคราะห์หาปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อคุณภาพของชิ้นงานด้วยการออกแบบการทดลองแบบ Plackett-Burman ซึ่งในการทดลองนี้จะศึกษาปัจจัยละ 2 ระดับ และทดลองซ้ำ 2 คร้ังที่ระดับนัยสำคญั ที่ 0.05 ปัจจัยที่ทำการศึกษาทั้ง 5 ปัจจัยได้แก่ความเร็วในการเคลื่อนที่ของกรอบยึดออกจากแท่น รองที่ระดับ 100.0 mm/s และ 140.0 mm/s, องศาของมุมแท่นรองที่ระดับ 3.0 mm และ 5.0 mm, องศาของทิศทาง แผ่นฟิล์มหลังจากการแยกจากกรอบยึดที่ระดับ 90° และ 45°, ระยะกรอบยึดที่ยืดออกจากแท่นรองเพื่อรอหัวจับ หยิบที่ ระดับ 0.0 mm และ 5.0 mm และระยะความสูงที่หัวจับหยิบกรอบยึด 0.025 mm และ 0.045 mm ผลการทดลองจาก Plackett-Burman พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเสียรูปของกรอบยึดที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ได้แก่ความเร็วในการเคลื่อนที่ของ กรอบยึดออกจากแท่นรองและระยะความสูงที่หัวจับหยิบกรอบยึด หลังจากนั้นนำปัจจัยทั้ง 2 พิจารณาด้วยการออกแบบการทดลองแบบ 3k Factorial Design โดยกำหนดปัจจัยเป็น 3 ระดับคือความเร็วในการเคลื่อนที่ของกรอบยึดออกจากแท่น รองที่ระดับ 100.0 mm/s, 120.0 mm/s,140.0 mm/s และระยะความสูงที่หัวจับหยิบกรอบยึด 0.025 mm, 0.035 mm, 0.045 mm ผลจากการวิเคราะห์พบว่าค่าที่เหมาะสมที่สุดคือที่ระดับความเร็วในการเคลื่อนที่ของกรอบยึดออกจาก แท่นรองเท่ากับ 140.0 mm/s และที่ระยะความสูงที่หัวจับหยิบกรอบยึดเท่ากับ 0.045 mm สามารถลดปริมาณของเสีย จากเดิมร้อยละ 8.65 เหลือเพียงร้อยละ 3.29 ส่งผลให้สามารถลดมูลค่าความสูญเสียได้ร้อยละ 5.25en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการเสียรูปของกรอบยึดen_US
dc.subjectการออกแบบการทดลองen_US
dc.subjectPlackett-Burmanen_US
dc.subject3k Factorial Designen_US
dc.titleการลดของเสียในกระบวนการประกอบชิ้นส่วนหน้าจอโทรศัพท์มือถือ โดยประยุกต์ใช้การออกแบบการทดลองen_US
dc.title.alternativeDefect Reduction In Mobile Phone Display Component Assembly Process By Applying The Design Of Experimentsen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.