Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66418
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorธนน บัวหลวงen_US
dc.contributor.authorพีรพงศ์ จิตเสงี่ยมen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:27Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:27Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationวารสารวิศวกรรมศาสตร์ 26, 1 (ม.ค.-เม.ย. 2562), 249-259en_US
dc.identifier.issn2672-9695en_US
dc.identifier.urihttp://researchs.eng.cmu.ac.th/UserFiles/File/Journal/26_1/20.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66418-
dc.descriptionวารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น โดยเปิดรับบทความวิชาการทางสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ตลอดทั้งปีen_US
dc.description.abstractการฉาบผิวถนนด้วยวัสดุพาราสเลอรี่ซีล (Para slurry seal) เพื่อปรับปรุงคุณภาพของผิวทางได้รับความนิยม สำหรับประเทศไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาแต่ยังมีปัญหาเรื่องแหล่งหินมวลรวมที่เหมาะสมสำหรับการทำวัสดุพาราสเลอรี่ ซีลมีอยู่อย่างจำกัดเนื่องจากปัญหาความเข้ากันได้ (Compatibility) ระหว่างหินมวลรวมทั่วไปกับวัสดุเชื่อมประสาน แอสฟัลต์อิมัลชันสำหรับการทำวัสดุพาราสเลอรี่ซีล บทความไดน้ำเสนอถึงวิธีการประเมินความเข้ากันได้ระหว่างหิน มวลรวมกับแอสฟัลต์อิมัลชัน ชนิด CSS-1h(EMA) สำหรับงานพาราสเลอรี่ซีลเพื่อนำมาเป็นแนวทางการคัดเลือกวัสดุผสม ที่มีความจำกัดในงานฉาบผิวทางประเภทนี้ให้มีประสิทธิภาพ โดยประเมินค่าความเป็นกรดเบสของวัสดุหินมวลรวมที่ผสม ในสารละลายแอสฟัลต์อิมัลชันร่วมกับการวัดค่าศักย์ไฟฟ้าซีต้าที่ผิวของหินมวลรวมเพื่อวิเคราะห์ถึงเสถียรภาพในการ แลกเปลี่ยนประจุระหว่างหินมวลรวมและแอสฟัลต์อิมัลชัน ชนิด CSS-1h(EMA) ที่เป็นประจุบวกแล้วนำมาออกแบบ ส่วนผสมพาราสเลอรี่ซีลเพื่อตรวจสอบความเข้ากัน ได้ระหว่างส่วนผสมนี้โดยพิจารณาความต้านทานแรงบิดและการขัดผิว ซึ่งในงานวิจิยนี้ได้น้ำตัวอย่างหินจากโรงโม่บริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยที่ยังไม่ได้รับการรับรองในการใช้งาน ฉาบผิวแบบพาราสเลอรี่ซีลจำนวน 3 ตัวอย่าง พบว่า แหล่งหินชนิด A และ B ซึ่งเป็นหินปูนที่มีปริมาณ CaO สูง มีค่า pH ของส่วนผสมกับ สารละลายแอสฟัลต์อิมัลชัน ชนิด CSS-1h(EMA) เข้าใกล้สู่ความเป็นกลางและมีค่าศักย์ไฟฟ้าผิวของหิน มวลรวมเข้าใกล้ความเป็นกลางทางประจุไฟฟ้าในสารละลายกรดไฮดรอคลอริก ส่วนตัวอย่างหินชนิด C ซึ่งเป็นหิน บะซอลต์พบว่า มีค่า pH ในสารละลายแอสฟัลต์อิมัลชัน เป็นกรดอ่อนและมีค่าศักย์ไฟฟ้าที่ผิวในการทดสอบมีค่าเป็นบวก แล้วน้ำตัวอย่างหินทั้งสามมาออกแบบเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพพาราสเลอรี่ซีลพบว่า ตัวอย่างหินชนิด B มีประสิทธิภาพ มากที่สุดซึ่งสอดคล้องกับผลของค่า pH และค่าศักย์ไฟฟ้าที่ผิวทีเข้าใกล้สู่ความเป็นกลางมากที่สุด จึงทำให้เกิดการ แลกเปลี่ยนระหว่างประจุลบของหินและประจุบวกของแอสฟัลต์อิมัล ชัน ชนิด CSS-1h(EMA) ได้ดีจึงทำให้การยึดเกาะ ระหว่างหินมวลรวมและแอสฟัลต์อิมัลชันแน่น ส่วนตัวอย่างหินชนิด C พบว่าตัวอย่างพาราสเลอรี่ซีลไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีน้ำหนัก ที่สูญเสียและได้กำลังรับแรงบิดไม่ เป็นไปตามมาตรฐานการทดสอบซึ่งสอดคล้องกับผลของการทดสอบ ค่า pH และค่าศักย์ไฟฟ้าที่ผิวเช่นกัน จึงไม่เหมาะที่จะทำไปใช้ในงานฉาบผิวชนิดนี้ดังนั้นแนวทางการคัดเลือกหินใน งานวิจัยนี้ที่คำนึงถึงความเข้ากัน ได้ข้องวัสดุพาราสเลอรี่ซีลสามารถนำมาเป็นแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพงานพาราสเลอรี่ ซีลที่มีคุณภาพได้en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการประเมินความเข้ากันได้ระหว่างแอสฟัลต์อิมัลชันกับวัสดุหินคัดเลือกเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพพาราสเลอรี่ซีลen_US
dc.title.alternativeA Compatibility Evaluation of Asphalt Emulsion-Selected Aggregate to Develop Performance of Para Slurry Sealen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.