Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66416
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorคัชลินี อัปสรภาสกรen_US
dc.contributor.authorปวีณา เชาวลิตวงศ์en_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:27Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:27Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.citationวารสารวิศวกรรมศาสตร์ 25, 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2561), 45-65en_US
dc.identifier.issn2672-9695en_US
dc.identifier.urihttp://researchs.eng.cmu.ac.th/UserFiles/File/Journal/25_3/04.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66416-
dc.descriptionวารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น โดยเปิดรับบทความวิชาการทางสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ตลอดทั้งปีen_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบวิธีการจัดเตรียมกำลังคนของร้านสาขาในธุรกิจบริการโทรคมนาคม ให้รองรับความต้องการของลูกค้าตลอดระยะเวลาเปิดร้านสาขา ซึ่งต้องมีพนักงานให้บริการลูกค้าคนแรกที่เข้ามาใช้บริการ และคนสุดท้ายของการเปิดร้านสาขาในชั่วโมงสุดท้าย ขั้นตอนการวิจัยเริ่มจากการศึกษาการจัดเตรียมกำลังคนของร้านสาขา ในปัจจุบัน จากนั้นเป็นการวิเคราะห์เพื่อระบุประเด็นปัญหา ซึ่งพบว่าวิธีการดำเนินงานจัดเตรียมกำลังคนในปัจจุบันยังขาดมาตรฐานการทำงานในแต่ละร้านสาขา การดำเนินงานปัจจุบันอาศัยตามทักษะและความเชี่ยวชาญรายบุคคลของผู้จัดการ ร้านสาขา ส่งผลให้มีบางร้านสาขาไม่สามารถจัดเตรียมกำลังคนเพื่อให้บริการลูกค้าได้อย่างเพียงพอ อีกทั้งวิธีการปัจจุบันเป็นการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานของฝ่ายประเมินกำลังคนและผู้จัดการร้านสาขา ก่อให้เกิดความล่าช้าของการรับส่ง หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน ส่งผลต่อประสิทธิผลและประสิทธิภาพการจัดเตรียมกำลังคน ดังนั้นงานวิจัยนี้ จึงได้นำเสนอวิธีการจัดเตรียมกำลังคนของร้านสาขาซึ่งประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก คือการแปลงความต้องการใช้บริการเป็นจำนวนพนักงาน การจัดกะทำงาน การจัดวันหยุด และการจัดช่วงเวลาพักรับประทานอาหารกลางวัน งานวิจัยนี้ได้ ประยุกต์โปรแกรมเชิงเส้นในการจัดวันหยุด และการจัดช่วงเวลาพักฯ ผลลัพธ์ที่ได้จากงานวิจัยคือวิธีการทำงานมาตรฐาน สำหรับการจัดเตรียมกำลังคนของร้านสาขาผลการทดสอบประสิทธิภาพของวิธีที่นำเสนอสามารถรองรับความต้องการใช้ บริการรายชั่วโมงของร้านสาขา อีกทั้งช่วยลดการตัดสินใจของการประเมินกำลังคนซ้ำซ้อน เกิดประสิทธิภาพของการจัดตารางการทำงานจากวิธีการที่เป็นมาตรฐาน รวมถึงสามารถลดช่องว่างจากทักษะและความชำนาญของผู้จัดตาราง จึงสามารถนำไปปฏิบัติหรือประยุกต์ใช้ได้จริงในการดำเนินงานen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการจัดเตรียมกำลังคนของร้านสาขาในธุรกิจบริการโทรคมนาคมen_US
dc.title.alternativeMan – Power Planning in a Telecom Service Branchen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.