Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66386
Title: | การต้านรังสียูวีและการยับยั้งแบคทีเรียของผ้าไหมย้อมใบหูกวาง |
Other Titles: | UV Protection and Antibacterial activity of Silk Fabrics Dyed with Sea Almond (Terminalia catappa) Leaves |
Authors: | มาหามะสูไฮมี มะแซ สายใจ วัฒนเสน ภาณุมาศ ชูพูล |
Authors: | มาหามะสูไฮมี มะแซ สายใจ วัฒนเสน ภาณุมาศ ชูพูล |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | วารสารวิศวกรรมศาสตร์ 25, 2 (พ.ค.-ส.ค. 2561), 113-123 |
Abstract: | วัตถุประสงคข์องการศึกษาในครั้งนี้เพื่อย้อมผ้าไหมด้วยใบหูกวางซึ่งเป็นสีย้อมตามธรรมชาติโดยใช้สารช่วยติด คือ เหล็กคลอไรด์(FeCl3) ทำการทดสอบความคงทนของสีต่อการซักเหงื่อและน้ำตามมาตรฐานการทดสอบสิ่งทอ (AATCC) และได้ทำการศึกษาการต้านรังสียูวีของผ้าไหมด้วยการคำนวณค่าการต้านรังสียูวี(Ultraviolet Protection Factor, UPF) องค์ประกอบทางเคมีที่มีอยู่ในสีย้อมธรรมชาติได้วิเคราะห์คุณลักษณะด้วยเทคนิคอินฟราเรด (FT-IR Spectroscopy) การยับยั้งแบคทีเรียของผ้าไหมที่ย้อมทดสอบด้วยเชื้อ Staphylococcus aureus และ Escherichia coliผลการย้อมใบหูกวางผสมด้วยเหล็กคลอไรด์ทำให้ยับยั้งแบคทีเรียได้ร้อยละ 98 และ 99 ตามลำดับ ลักษณะของสีผ้าที่ ย้อมด้วยใบหูกวางมีสีน้ำ ตาลในขณะเดียวกันที่ใชสารช่วยติด ที่เป็นเหล็กคลอไรด์จะมีสีดำ ผลการทดลองความคงทนของสีย้อมผ้าไหมพบว่ามีความคงทนของสีต่อการซัก เหงื่อและน้ำในระดับ ปานกลางถึงดีมากการต้านรังสียูวีอยู่ในระดับค่าการ ต้านรังสียูวีในระดับสูงสุด สารที่สกัดได้จากใบหูกวางมีสารที่อยู่ในกลุ่มพอลิฟินอลิก (Polyphenolic) และแทนนิน (Tannin) ซึ่งใบหูกวางก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่สามารถใช้ในการย้อมผ้าไหมและในการผลิตสีย้อมผ้าอีกด้วย |
Description: | วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น โดยเปิดรับบทความวิชาการทางสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ตลอดทั้งปี |
URI: | http://researchs.eng.cmu.ac.th/UserFiles/File/Journal/25_2/11.pdf http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66386 |
ISSN: | 0857-2178 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.