Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66379
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพิชญา พลฤทธิ์en_US
dc.contributor.authorจิรพัฒน์ เงาประเสริฐวงศ์en_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:27Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:27Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.citationวารสารวิศวกรรมศาสตร์ 25, 2 (พ.ค.-ส.ค. 2561), 44-54en_US
dc.identifier.issn0857-2178en_US
dc.identifier.urihttp://researchs.eng.cmu.ac.th/UserFiles/File/Journal/25_2/05.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66379-
dc.descriptionวารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น โดยเปิดรับบทความวิชาการทางสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ตลอดทั้งปีen_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ได้ศึกษากระบวนการผลิตสารเคลือบเซรามิกชนิดฟริต (Fritted Glazes) ด้วยการใช้น้ำหล่อเย็น (water cooling) วัตถุประสงค์เพื่อลดของเสียที่เกิดจากข้อบกพร่องประเภทฟริตขนาดเกินค่ามาตรฐาน โดยนำแนวคิดซิกซ์ซิกมา (Six Sigma) มาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงกระบวนการผลิต ประกอบด้วยการดำเนินการ 5 ขั้นตอน เริ่มจาก ระยะการนิยามปัญหา ได้ศึกษาข้อมูลการผลิตและกำหนดเป้าหมายคือลดสัดส่วนฟริตขนาดเกินค่ามาตรฐานสำหรับฟริต สูตรที่มีของเสียมากที่สุดให้ได้50% โดยการใช้เครื่องลำเลียงฟริตเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิต และกำหนดขอบเขตการ วิจัยในระยะการวัดเพื่อกำหนดสาเหตุของปัญหาได้วิเคราะห์ความแม่นยำและความเที่ยงตรงของระบบการวัด และระดม สมองเพื่อหาปัจจัยที่ทำให้ฟริตมีขนาดเกินค่ามาตรฐานด้วยเครื่องมือ 3 ชนิด ได้แก่แผนผังสาเหตุและผล(Cause and Effect Diagram) เมทริกซ์สาเหตุและผล (Cause and Effect Matrix)และประเมินปัจจัยที่มีความเสี่ยงสูงด้วยการวิเคราะห์ ลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบ (Failure Mode and Effects Analysis: FMEA) ในระยะวิเคราะห์ปัญหาได้นำปัจจัยนำเข้าที่สำคัญมาออกแบบการทดลองแบบแฟคทอเรียล 2k ต่อมาในระยะการปรับปรุงได้ออกแบบการทดลองแบบ แฟคทอเรียลที่มีเพิ่มระดับของปัจจัยจากการทดลองพบว่าการปล่อยน้ำจากท่อ ท่อบน ท่อข้างและท่อเล็ก(รูปแบบ Y4) ความกว้างของร่องอิฐหน้าเตา 4 เซนติเมตร และความถี่อินเวอร์เตอร์ 37 เฮิรตซ์ทำให้สัดส่วนฟริตขนาดเกินค่ามาตรฐานมีค่าน้อยที่สุด ในระยะสุดท้ายได้วางแผนควบคุมการผลิตและทดลองผลิตโดยการปรับตั้งค่าพารามิเตอร์จากการทดลองเป็นระยะเวลา 1 เดือน ผลการทดสอบแสดงว่าสัด ส่วนฟริตขนาดเกินค่ามาตรฐานลดลงจาก 7.96% เหลือเพียง 2.78% ที่ระดับ ความเชื่อมั่น 95% คิดเป็นสัดส่วนของเสียที่ลดลงได้65.08%en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectสารเคลือบฟริตen_US
dc.subjectสารเคลือบเซรามิกen_US
dc.subjectซิกซ์ซิกมาen_US
dc.subjectการออกแบบการทดลองen_US
dc.titleการลดของเสียประเภทขนาดเกินค่ามาตรฐานในกระบวนการผลิตสารเคลือบเซรามิกชนิดฟริตen_US
dc.title.alternativeOversize Defect Reduction in Fritted Glazes Processen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.