Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66366
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | สุธิดา มาอ่อน | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-08-21T09:18:27Z | - |
dc.date.available | 2019-08-21T09:18:27Z | - |
dc.date.issued | 2562 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารวิจิตรศิลป์ 10, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2562), 112-139 | en_US |
dc.identifier.issn | 1906-0572 | en_US |
dc.identifier.uri | https://www.tci-thaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/view/109515/141787 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66366 | - |
dc.description | วารสารวิจิตรศิลป์ ตีพิมพ์บทความวิจัยหรือบทความงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรม และบทความวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ เป็นบทความที่เสนอองค์ความรู้ แนวคิด วิธีการ และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ (การวิจัยงานศิลปะ การออกแบบ ประยุกต์ศิลป์ ดนตรี การแสดง สื่อศิลปะ ปรัชญาศิลป์ สุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี) | en_US |
dc.description.abstract | บทความนี้ เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง รูปแบบการตีความเนื้อหาและกระบวนการสร้างสรรค์ในงานทัศนศิลป์ร่วมสมัยไทย ที่ดำเนินการสำเร็จตามตามวัตถุประสงค์การวิจัย 2 ประการแรก จากทั้งหมด 3 ประการ คือ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการถ่ายทอดมโนทัศน์ผ่านกระบวนการสร้างสรรค์กับความหมายส่วนเนื้อหาผลงานทัศนศิลป์ร่วมสมัยไทย 2) นำเสนอรูปแบบการตีความผลงานทัศนศิลป์ร่วมสมัยไทย และ 3) ประเมินรูปแบบการตีความผลงานทัศนศิลป์ร่วมสมัยไทย ด้วยการศึกษาผลงานทัศนศิลป์ร่วมสมัยไทยกรณีศึกษาของศิลปินไทย 5 ราย คือ คามิน เลิศชัยประเสริฐ ประสงค์ ลือเมือง วัชระ ประยูรคำ จักกาย ศิริบุตร และกฤช งามสม รายละ 3 ผลงาน โดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่เริ่มต้นจากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลภาคเอกสาร เก็บข้อมูลการสัมภาษณ์และสังเกตศิลปิน ศึกษาวิเคราะห์และตีความผลงาน ตามแนวคิดทฤษฏีประติมานวิทยา สัญวิทยา และทฤษฏีศิลป์ ด้วยการอธิบายความหมายผลงานตามทัศนะของผู้วิจัย จนปรากฏผลการวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของความหมายส่วนเนื้อหาผลงานกับการถ่ายทอดมโนทัศน์ผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ของศิลปินแต่ละราย ที่แตกต่างกันออกไป และผลจากการวิจัยประการแรกได้นำไปสู่การสังเคราะห์และได้มาซึ่งรูปแบบการตีความ 2 แนวทาง คือ รูปแบบการตีความผลงานทัศนศิลป์ร่วมสมัยไทยสำหรับผู้ชมทั่วไป และรูปแบบการตีความผลงานทัศนศิลป์ร่วมสมัยไทยเชิงลึก ที่ถูกนำเสนอผ่านการทดลองใช้โดยกลุ่มผู้ชมที่มีความชื่นชอบ และสนใจเสพผลงานทัศนศิลป์ร่วมสมัยไทย ได้เลือกใช้รูปแบบเป็นแนวทางในการตีความและอธิบายความหมายตามความเข้าใจของผู้ชมแต่ละราย | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | รูปแบบ | en_US |
dc.subject | การตีความ | en_US |
dc.subject | ทัศนศิลป์ร่วมสมัยไทย | en_US |
dc.subject | เนื้อหา | en_US |
dc.subject | และกระบวนการสร้างสรรค์ | en_US |
dc.title | รูปแบบการตีความเนื้อหาและกระบวนการสร้างสรรค์ในงานทัศนศิลป์ร่วมสมัยไทย | en_US |
dc.title.alternative | Content Interpretation Model and Creative Process in Thai Contemporary Visual Art | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.