Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66347
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุวิภา จำปาวัลย์en_US
dc.contributor.authorนเรนทร์ ปัญญาภูen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:26Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:26Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.citationวารสารวิจิตรศิลป์ 8, 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2560), 49-102en_US
dc.identifier.issn1906-0572en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/view/94180/85716en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66347-
dc.descriptionวารสารวิจิตรศิลป์ มีกำหนดออกปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 ม.ค. – มิถุนายน ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม ประเภทของเรื่องที่จะตีพิมพ์ ได้แก่ บทความวิจัยหรือบทความงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรม และบทความวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ เป็นบทความที่เสนอองค์ความรู้ แนวคิด วิธีการ และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ (การวิจัยงานศิลปะ การออกแบบ ประยุกต์ศิลป์ ดนตรี การแสดง สื่อศิลปะ ปรัชญาศิลป์ สุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี)en_US
dc.description.abstractการรับรู้ประวัติพระนางจามเทวีตามกระแสการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ กลายเป็นประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่มีพลังขับเคลื่อนในการพัฒนาจังหวัดลำพูนในปัจจุบัน โดยการเผยแพร่สื่อที่นำมาสู่การรับรู้แบ่งได้ 2 ประเภท ที่นำไปสู่การพัฒนาเมืองลำพูนตามแนวทางต่างๆ คือ การรับรู้จากเอกสาร ตำนาน และเรื่องเล่า จากการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุที่มีอายุอยู่ในช่วง 60-100 ปี ในจังหวัดลำพูน พบว่าการรับรู้เรื่องราวของพระนางจามเทวีจากคำบอกเล่าที่กล่าวว่าสถานที่กำเนิดพระนางอยู่ที่บ้านหนองดู่โดยมีตำนานท้องถิ่นสนับสนุนเรื่องเล่านี้ ทำให้ตั้งแต่ พ.ศ.2547 เป็นต้นมาเกิดการพัฒนาทางวิชาการเพื่อหาข้อมูลรองรับโครงการผลักดันเมืองลำพูนสู่มรดกโลก การค้นคว้าประวัติศาสตร์ท้องถิ่น รวมทั้งการขุดแต่งแหล่งโบราณสถานบ้านหนองดู่ และบ้านบ่อคาว เป็นการเพิ่มคุณค่าแก่มรดกทางศิลปวัฒนธรรมในเมืองลำพูน การรับรู้จากสื่อประกอบการเล่าเรื่อง ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ถ่ายทอดเรื่องราวของพระนางจามเทวี เช่น ภาพจิตรกรรมฝาผนัง รูปปั้น ภาพเหมือน วัตถุมงคล ในการเชื่อมโยงสถานที่เกี่ยวข้องกับประวัติพระนางจามเทวี ให้เป็นพื้นที่ประกอบพิธีกรรมบวงสรวง จัดกิจกรรมการแสดงต่างๆ ในจังหวัดลำพูน เป็นการผลิตซ้ำสัญลักษณ์ และเรื่องราวของพระนางจามเทวี เพื่อสร้างอัตลักษณ์ของจังหวัดลำพูน ในการระดมทุนและกำลังคนเพื่อสนับสนุนการจัดงานประเพณี พิธีกรรม การส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และกิจกรรมประจำปีในระดับจังหวัดen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการรับรู้en_US
dc.subjectประวัติศาสตร์ท้องถิ่นen_US
dc.subjectพระนางจามเทวีen_US
dc.titleการรับรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ท้องถิ่น พระนางจามเทวี สู่แนวทางการพัฒนาในจังหวัดลำพูนen_US
dc.title.alternativeThe Perception of Local History: Queen Camadevi and Developments in Lamphun Provinceen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.