Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66346
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ทิพวรรณ ทั่งมั่งมี | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-08-21T09:18:26Z | - |
dc.date.available | 2019-08-21T09:18:26Z | - |
dc.date.issued | 2560 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารวิจิตรศิลป์ 8, 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2560), 1-48 | en_US |
dc.identifier.issn | 1906-0572 | en_US |
dc.identifier.uri | https://www.tci-thaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/view/86922/85713 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66346 | - |
dc.description | วารสารวิจิตรศิลป์ มีกำหนดออกปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 ม.ค. – มิถุนายน ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม ประเภทของเรื่องที่จะตีพิมพ์ ได้แก่ บทความวิจัยหรือบทความงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรม และบทความวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ เป็นบทความที่เสนอองค์ความรู้ แนวคิด วิธีการ และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ (การวิจัยงานศิลปะ การออกแบบ ประยุกต์ศิลป์ ดนตรี การแสดง สื่อศิลปะ ปรัชญาศิลป์ สุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี) | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงประวัติความเป็นมา คติความเชื่อ ประเพณีการสร้างพระพุทธรูปเกสรดอกไม้ศิลปะพม่า และศึกษาแนวคิด รูปแบบทางศิลปกรรม กรรมวิธีการสร้างพระพุทธรูปรูปเกสรดอกไม้ศิลปะพม่าที่ปรากฏในเขตวัฒนธรรมล้านนา ตลอดจนการสร้างสรรค์งานศิลปกรรม โดยการสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาการสร้างพระพุทธรูปเกสรดอกไม้ศิลปะพม่าในล้านนา นำมาเป็นแรงบันดาลใจและแนวทางในการสร้างสรรค์พระพุทธปฏิมาร่วมสมัย เพื่อการอนุรักษ์และสืบสานศิลปกรรมล้านนา ผลการวิจัยพบว่า ภูมิปัญญาการสร้างพระพุทธรูปรูปเกสรดอกไม้ศิลปะพม่าที่ปรากฏในเขตวัฒนธรรมล้านนา มีความเป็นมาเชื่อมโยงสัมพันธ์กับคติความเชื่อเรื่องอานิสงส์การสร้างพระพุทธรูปด้วยเกสรดอกไม้ ที่ปรากฏอยู่ในเอกสารคัมภีร์ใบลาน และตำราการสร้างพระพุทธรูปของล้านนา ซึ่งมีเนื้อหาสะท้อนถึงวัฒนธรรมวิธีคิดในการกำหนดคุณค่าและความหมายในวัตถุอันเป็นสื่อสัญลักษณ์ของความศรัทธา ตามคติความเชื่อของชาวพุทธที่สืบทอดมาแต่เมื่อครั้งสมัยพุทธกาล จากการศึกษาแนวคิด รูปแบบและกรรมวิธีการสร้างพระพุทธรูปเกสรดอกไม้ศิลปะพม่าในล้านนา พบว่า แนวคิดในการสร้างมีที่มาจากพุทธปรัชญาแบบเถรวาท ได้แก่ แนวคิดมหาปุริสลักษณะ แนวคิดสัญลักษณ์ปางพระพุทธรูป และแนวคิดสัญลักษณ์พระอดีตพุทธเจ้า ส่วนรูปแบบทางศิลปกรรม มีทั้งแบบศิลปะพม่าสกุลช่างมัณฑเลย์ และสกุลช่างไทใหญ่ อีกทั้งยังมีกรรมวิธีการสร้างที่หลากหลาย ซึ่งสะท้อนผ่านคำเรียกขานพระพุทธรูป นอกจากนี้ ผู้วิจัยได้สังเคราะห์องค์ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษานำมาเป็นแรงบันดาลใจและแนวทางในการสร้างสรรค์ พระพุทธปฏิมาร่วมสมัยปางโปรดพญาชมพูบดี ที่ได้รับอิทธิพลด้านประติมานวิทยาจากพระพุทธรูปสกุลช่างไทใหญ่ ด้วยดอกไม้ที่พุทธศาสนิกชนนำมาสักการบูชาพระ โดยนำกรรมวิธีการสร้างพระพุทธรูปศิลปะเครื่องเขินมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงภูมิปัญญาการสร้างงานพุทธศิลป์ในอดีต ไปสู่การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ในปัจจุบัน ที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของภูมิปัญญาอันเป็นแก่นของวัฒนธรรม | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | พระพุทธรูปเกสรดอกไม้ | en_US |
dc.subject | ศิลปะพม่า | en_US |
dc.subject | พระพุทธปฏิมาร่วมสมัย | en_US |
dc.subject | pollen Buddha image | en_US |
dc.subject | Burma Arts | en_US |
dc.subject | contemporary Buddha image | en_US |
dc.title | การศึกษาคติการสร้างพระพุทธรูปเกสรดอกไม้ศิลปะพม่าในล้านนา เพื่อการสร้างสรรค์พระพุทธปฏิมาร่วมสมัย | en_US |
dc.title.alternative | A Study of the Principles of creating Buddha images from Pollen in Burmese Arts Found in Lan Na | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.