Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66344
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรีen_US
dc.contributor.authorธณิกานต์ วรธรรมานนท์en_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:26Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:26Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.citationวารสารวิจิตรศิลป์ 8, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2560), 106-164en_US
dc.identifier.issn1906-0572en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/view/78090/73354en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66344-
dc.descriptionวารสารวิจิตรศิลป์ มีกำหนดออกปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 ม.ค. – มิถุนายน ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม ประเภทของเรื่องที่จะตีพิมพ์ ได้แก่ บทความวิจัยหรือบทความงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรม และบทความวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ เป็นบทความที่เสนอองค์ความรู้ แนวคิด วิธีการ และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ (การวิจัยงานศิลปะ การออกแบบ ประยุกต์ศิลป์ ดนตรี การแสดง สื่อศิลปะ ปรัชญาศิลป์ สุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี)en_US
dc.description.abstractตำนานมูลศาสนาเป็นวรรณกรรมพุทธศาสนาล้านนาที่สำคัญ ฉบับที่ใช้วิเคราะห์เป็นฉบับวัดสวนดอก แต่งโดยพระพุทธรักขิต และพระพุทธญาณ แต่งขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1999 - 2053 ตั้งแต่สมัยพญาติโลกราช (พ.ศ. 1985-2080) ถึงพระเมืองแก้ว (พ.ศ. 2038-2068) อันเป็นช่วงเวลาที่สังคมล้านนาเกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างพระสงฆ์ฝ่ายวัดสวนดอกกับพระสงฆ์ฝ่ายวัดป่าแดง ผู้แต่งมีความสัมพันธ์กับพระสงฆ์ฝ่ายวัดป่าแดง เนื้อหาตำนานประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนแรกเกี่ยวกับพุทธประวัติ ส่วนที่สองเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในล้านนา จุดประสงค์ของผู้แต่งตำนานเพื่อเชื่อมวงศ์กษัตริย์ล้านนาเข้ากับวงศ์พระพุทธเจ้า เพื่อสรรเสริญพญาติโลกราชทั้งทางโลกและทางธรรม ทั้งเพื่อรับรองสถานะผู้แต่งที่เกี่ยวข้องกับนิการวัดป่าแดงว่าสืบสายมาจากพระสุมนเถระ ซึ่งเป็นปฐมสังฆวงศ์ของนิกายวัดสวนดอก และเพื่อให้ข้อคิดเกี่ยวกับเหตุการณ์ตามพุทธพยากรณ์ที่จะมาถึงใน พ.ศ. 2000 วิธีการแต่งตำนานมูลศาสนา เป็นความเรียงร้อยแก้ว เขียนด้วยภาษาไทยถิ่นเหนือ ใช้อักษรธรรมล้านนา จารบนใบลาน มีความยาว 10 ผูก มักขึ้นต้นเนื้อหาด้วยคำเช่นเดียวกับนิทาน สำหรับในส่วนที่ผู้แต่งต้องการอธิบายเพิ่มเติมมักใช้คำว่า อธิบายว่า แทรกทัศนะของนักปราชญ์ร่วมสมัย ยกธรรมะ นิทานพื้นบ้าน ชาดก สรุปเหตุการณ์ในภาพรวมก่อนอธิบายรายละเอียด และสรุปเหตุการณ์ไว้ท้ายเรื่อง เนื้อหาที่น่าสนใจในตำนานมูลศาสนา ได้แก่ การประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุในเมืองเชียงใหม่ และการผูกสีมาของวัดสวนดอก จำนวน 6 ครั้งด้วยกัน ได้แก่ สมัยพระสุมนเถร เจ้าอาวาสวัดสวนดอกลำดับที่ 1 (พ.ศ. 1912-1936) มหานันทปัญญา เจ้าอาวาสวัดสวนดอกลำดับที่ 3 (พ.ศ.1946-1961) มหาพุทธญาณ เจ้าอาวาสวัดสวนดอกลำดับที่ 4 (พ.ศ.1961-1963) มหาติปิฎก เจ้าอาวาสวัดสวนดอกลำดับที่ 7 (พ.ศ.1984- 1990) พระพุทธรักขิต เจ้าอาวาสวัดสวนดอกลำดับที่ 8 (พ.ศ.1990 – 2002) และมหานาคเสน เจ้าอาวาสวัดสวนดอกลำดับที่ 10 (พ.ศ.2018 – 2023)en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectTamnan Mulasasanaen_US
dc.subjectPa-Daeng Templeen_US
dc.subjectSuan Dok Templeen_US
dc.subjectตำนานมูลศาสนาen_US
dc.subjectวัดป่าแดงen_US
dc.subjectวัดสวนดอกen_US
dc.titleวิเคราะห์ตำนานมูลศาสนาฉบับวัดสวนดอกen_US
dc.title.alternativeAnalysis of Tamnan munlasatsana (Suan Dok Temple Version)en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.