Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66311
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ภัคจิรา จันทร์อินทร์ | en_US |
dc.contributor.author | ศันสนีย์ จำจด | en_US |
dc.contributor.author | นริศ ยิ้มแย้ม | en_US |
dc.contributor.author | ต่อนภา ผุสดี | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-08-21T09:18:25Z | - |
dc.date.available | 2019-08-21T09:18:25Z | - |
dc.date.issued | 2562 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารเกษตร 35, 1 (ม.ค. 2562), 23-35 | en_US |
dc.identifier.issn | 0857-0841 | en_US |
dc.identifier.uri | http://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00141_C01119.pdf | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66311 | - |
dc.description | วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (ม.ค. พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) | en_US |
dc.description.abstract | ความหอมเป็นหนึ่งในลักษณะคุณภาพเมล็ดที่ทำให้ข้าวหอมมีมูลค่าสูง ในตลาดโลก เนื่องจากมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ ในขณะที่ความต้องการบริโภคข้าวหอมก็เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก ข้าวพันธุ์พื้นเมืองมีลักษณะทางพันธุกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ มีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูง และพบว่าบางประชากรข้าวพื้นเมืองเป็นข้าวที่มีกลิ่นหอม ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมและอัลลีลของยีนที่ควบคุมลักษณะความหอมในข้าวหอมพื้นเมืองที่สูงทางภาคเหนือของประเทศไทย โดยประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมด้วยเครื่องหมายโมเลกุล microsatellite จำนวน 12 ตำแหน่ง และประเมินความหอมในเมล็ดข้าวด้วยวิธีการเบื้องต้นโดยการดมและประเมินปริมาณสาร 2-acetyl-1-pyrroline (2AP) ด้วยวิธี headspace - gas chromatography (HS-GC) รวมทั้งศึกษาอัลลีลบริเวณเอกซอน 7 ของยีน BADH2 จากการศึกษาพบว่าข้าวพันธุ์ บือเนอมู มีค่าความหลากหลายภายในประชากรต่ำ (HS = 0.015) แต่มีค่าความแตกต่างระหว่างประชากรสูง (FST = 0.941) ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการคัดเลือกในลักษณะความหอมและรูปร่างเมล็ดของเกษตรกร รวมถึงการเปลี่ยนแปลงความถี่ของอัลลีล (genetic drift) จากกระบวนการ genetic bottleneck ซึ่งเป็นผลมาจากการเก็บเมล็ดพันธุ์ของเกษตรกรสำหรับปลูกในปีถัดไป และการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมท้องถิ่น ความหลากหลายของ BADH2 อัลลีลในกลุ่มประชากรข้าวบือเนอมูทั้ง 9 โดยประชากร ข้าวบือเนอมู 4 มีปริมาณ 2AP สูงที่สุด (2.96 ppm) และมีการขาดหายไปของยีน BADH2 แบบ badh2-E7 ที่คล้ายคลึงกับข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และปทุมธานี 1 ที่เป็นพันธุ์ข้าวหอมยอดนิยมของประเทศไทย ซึ่งผลที่ได้ชี้ให้เห็นว่าข้าวพื้นเมืองพันธุ์บือเนอมูสามารถใช้เป็นแหล่งพันธุกรรมเพื่อพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมได้ โดยการปรับปรุงพันธุ์ให้เป็นสายพันธุ์บริสุทธิ์หรือพัฒนาให้เป็นพันธุ์สมัยใหม่ นอกจากนี้การประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมข้าวพันธุ์พื้นเมืองยังสามารถใช้เป็นตัวตัดสินใจในการเลือกแนวทางในการอนุรักษ์พันธุ์ข้าว | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | ข้าวหอม (Fragrant rice) | en_US |
dc.subject | ข้าวพื้นเมืองที่สูง (highland local rice) | en_US |
dc.subject | 2-acetyl-1-pyrroline | en_US |
dc.subject | ยีน BADH2 (BADH2 gene) | en_US |
dc.title | ความหลากหลายอัลลีลของยีน BADH2 และโมเลกุลไมโครแซทเทลไลท์ ในข้าวหอมพื้นเมืองที่สูง | en_US |
dc.title.alternative | Diversity of BADH2 Alleles and Microsatellite Molecules in Highland Fragrant Rice Landraces | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.