Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66309
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorณัฏฐยา เรือนแป้นen_US
dc.contributor.authorกรรณิการ์ สัจจาพันธ์en_US
dc.contributor.authorทศพล พรพรหมen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:25Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:25Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationวารสารเกษตร 35, 1 (ม.ค. 2562), 37-48en_US
dc.identifier.issn0857-0841en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00141_C01120.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66309-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (ม.ค. พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractการใช้โบรมาซิลและไดยูรอนอย่างแพร่หลายในแปลงสับปะรด อาจเกิดการตกค้างสะสมตามปริมาณการใช้สารซ้ำ ๆ ในพื้นที่เดิม ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ ความปลอดภัยทางด้านอาหารและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพของสารกำจัดวัชพืชในการควบคุมวัชพืช เมื่อมีการใช้สารซ้ำ ๆ มากถึง 3 ครั้ง ในหนึ่งรอบฤดูปลูกสับปะรด และตรวจหาสารกำจัดวัชพืชตกค้างในดิน โดยใช้ UPLC-MS/MS ดำเนินการทดลองในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2558 - สิงหาคม 2559 วางแผนการทดลองแบบสุ่มบล็อกสมบูรณ์จำนวน 4 ซ้ำ 4 กรรมวิธี ประกอบด้วย 1) ไม่ควบคุมวัชพืช 2) ควบคุมวัชพืชด้วยการถอนมือ 3) ควบคุมวัชพืชด้วยโบรมาซิลร่วมกับไดยูรอน อัตรา 2,000 + 2,000 g a.i./ha 4) ควบคุมวัชพืชด้วยโบรมาซิลร่วมกับไดยูรอน อัตรา 5,000 + 2,500 g a.i./ha พ่นสารกำจัดวัชพืชที่ 0, 90 และ 180 วันหลังจากปลูก พบว่า การใช้โบรมาซิลร่วมกับไดยูรอน อัตรา 2,000 + 2,000 g a.i./ha มีประสิทธิภาพควบคุมวัชพืชได้หลายชนิดตลอดฤดูปลูก ไม่พบความเป็นพิษและไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของสับปะรด แต่มีผลกระทบต่อผลผลิต ในขณะที่การใช้โบรมาซิลร่วมกับไดยูรอน อัตรา 5,000 + 2,500 g a.i./ha พบว่า มีความเป็นพิษต่อสับปะรด ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโต แต่มีผลกระทบต่อผลผลิต การตรวจหาสารกำจัดวัชพืชตกค้างในดิน พบว่า มีสารโบรมาซิลและไดยูรอนตกค้างในดิน ที่ 90 วันหลังจากได้รับสาร สารโบรมาซิลจะตกค้างในดินสูงกว่าไดยูรอน การใช้โบรมาซิลร่วมกับไดยูรอน อัตรา 5,000 + 2,500 g a.i./ha มีปริมาณสารกำจัดวัชพืชตกค้างในดินสูงที่สุด ในฤดูแล้งพบปริมาณสารกำจัดวัชพืชตกค้างสะสมในดินมากขึ้น ในฤดูฝนไม่พบการสะสมของสารกำจัดวัชพืชในดิน ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า หลังการใช้สารกำจัดวัชพืชติดต่อกัน 3 ครั้ง การใช้โบรมาซิลร่วมกับไดยูรอน อัตรา 2,000 + 2,000 g a.i./ha เป็นอัตราที่เหมาะสมสำหรับควบคุมวัชพืชในแปลงสับปะรด พบการตกค้างของสารกำจัดวัชพืชในดินแต่ไม่เกินกว่าค่ามาตรฐานที่กรมควบคุมมลพิษกำหนดen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectยูราซิลen_US
dc.subjectฟีนิลยูเรียen_US
dc.subjectสารกำจัดวัชพืชตกค้างen_US
dc.subjectความปลอดภัยทางด้านสิ่งแวดล้อมen_US
dc.titleประสิทธิภาพและการตกค้างของสารโบรมาซิลและไดยูรอนสำหรับการควบคุมวัชพืชในแปลงปลูกสับปะรดen_US
dc.title.alternativeEfficacy and Residues of Bromacil and Diuron for Weed Control in Pineapple Fieldsen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.