Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66289
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorโรสริน อัคนิจen_US
dc.contributor.authorธนิต พุทธพงศ์ศิริพรen_US
dc.contributor.authorน้ำฝน ลำดับวงศ์en_US
dc.contributor.authorอารีย์ ธัญกิจจานุกิจen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:25Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:25Z-
dc.date.issued2554en_US
dc.identifier.citationวารสารเกษตร 27, 3 (ต.ค. 2554), 267-274en_US
dc.identifier.issn0857-0841en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00114_C00837.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66289-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (ม.ค. พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractบทความนี้รายงานผลการดำเนินการจัดทำออนโทโลยีการแปรรูปข้าว โดยใช้แนวทางการพัฒนาโครงสร้าง ออนโทโลยีโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยมีกระบวนการพัฒนา 2 ส่วนคือ กระบวนการพัฒนาออนโทโลยี และการประเมินออนโทโลยี ในขั้นของกระบวนการพัฒนาออนโทโลยี แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนคือ 1. รวบรวมมโนทัศน์ (Concept หรือ Class) และ คำแทนมโนทัศน์ (Term) จากผลงานวิชาการที่ตีพิมพ์เป็นหลัก 2. ปรับปรุงเพิ่มเติมมโนทัศน์และคำแทนมโนทัศน์ให้สมบูรณ์ 3.กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างคำแทนมโนทัศน์เหล่านั้น 4. ทวนสอบผลที่ได้โดยผู้เชี่ยวชาญในสาขา 5. นำผลที่ได้ไปพัฒนาเป็นออนโทโลยีของการแปรรูปข้าว ซึ่งได้โครงสร้างที่ประกอบด้วยความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์หลักและ คำแทนมโนทัศน์ รวมทั้งสิ้น 9 กลุ่มคือ มาตรฐานข้าวไทย คุณภาพในแต่ละด้านของข้าว กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ข้าว สมบัติของข้าว ประเภทของผลิตภัณฑ์ องค์ประกอบข้าว ผลิตภัณฑ์จากข้าว เครื่องมือในการตรวจวัดและเครื่องจักรในการแปรรูป โดยมโนทัศน์ทั้งหมดในออนโทโลยีการแปรรูปข้าวมีทั้งหมด 907 มโนทัศน์ และคำแทนมโนทัศน์ทั้งหมด 1863 คำ สำหรับการประเมินออนโทโลยีมี 2 ส่วนคือ ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญในสาขาทั้งหมด 17 ท่าน โดยเทคนิคเดลฟาย และการประเมินโดยผู้ใช้งาน ซึ่งประเมินโดยวัดเป็นค่าประสิทธิภาพในการสืบค้นระหว่างการใช้หลักการของออนโทโลยีกับการสืบค้นโดยใช้วิธีดั้งเดิมคือการใช้คำสำคัญ ในการประเมินประสิทธิภาพในการสืบค้นโดยใช้ความสัมพันธ์ภายในมโนทัศน์พบว่าการใช้ออนโทโลยีสามารถเพิ่มความครบถ้วนในการสืบค้นข้อมูล โดยการใช้ออนโทโลยีมีค่าความครบถ้วนอยู่ที่ 0.382 ในขณะที่การสืบค้นแบบดั้งเดิมที่ใช้คำสำคัญมีค่าความครบถ้วนอยู่ที่ 0.074 จากการที่ออนโทโลยีมีคุณสมบัติในการขยายคำค้นโดยสามารถดึงเอางานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผู้สืบค้นต้องการค้นหาซึ่งจะเป็นการเชื่อมโยงความรู้ในขอบเขตที่เกี่ยวข้องกับการสืบค้น ผลที่ได้จากการพัฒนาออนโทโลยีของการแปรรูปข้าวนี้จะสามารถช่วยในการจัดจำแนกและการอธิบายความหมายของคำสำคัญของงานวิจัยการ แปรรูปข้าวเป็นระเบียบและมีแบบแผน ซึ่งจะสามารถนำไปพัฒนาในการใช้งานตามวัตถุประสงค์ได้ต่อไปในอนาคตen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectออนโทโลยีen_US
dc.subjectข้าวen_US
dc.subjectการแปรรูปข้าวen_US
dc.titleการพัฒนาออนโทโลยี เพื่อการจัดการความรู้ด้านการแปรรูปข้าวen_US
dc.title.alternativeOntology Development for Rice Processing Knowledge Managementen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.