Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66276
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ฤทธิรงค์ จุฑาพฤฒิกร | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-08-21T09:18:25Z | - |
dc.date.available | 2019-08-21T09:18:25Z | - |
dc.date.issued | 2561 | en_US |
dc.identifier.citation | เจ-ดี : วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม 5, 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2561), 82-99 | en_US |
dc.identifier.issn | 2351-0935 | en_US |
dc.identifier.uri | https://www.tci-thaijo.org/index.php/jed/article/view/203343/141801 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66276 | - |
dc.description | วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม เป็นวารสาร เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ๆในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการออกแบบสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อม เป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ในการเสนอผลงานทางวิชาการให้แก่ ผู้สนใจ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไป อันจะเป็นการเสริมความเข้มแข็งแก่วงวิชาการและวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมต่อไป วารสารวิชาการการออกแบบสิ่งแวดล้อมเริ่มต้นเผยแพร่เมื่อ พ.ศ.2557 ออกปีละฉบับมาจนถึงปัจจุบัน | en_US |
dc.description.abstract | ศูนย์การเรียนรู้คนพิการและครอบครัวตามแนวพระราชดำริฯด้านเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดระยอง มีเป้าหมายในการส่งเสริมให้คนพิการมีอาชีพและรายได้ที่มั่นคงโดยไม่ต้องพึ่งพา แม้ว่าความต้องการของคนพิการในการมาทำงานและฝึกอาชีพเกษตรและปศุสัตว์ที่ศูนย์แห่งนี้จะมีมาก ศูนย์ฯไม่สามารถจัดเตรียมที่พักอาศัยรองรับได้เพียงพอ ด้วยความท้าทายนี้มหาวิทยาลัยกรุงเทพโดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์อาสาร่วมกับศูนย์ฯในการจัดทำโครงการบ้านอยู่ดีเพื่อช่วยแก้ปัญหา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการโครงการบริการวิชาการรับใช้สังคมเข้ากับการเรียนรู้ทางการออกแบบสถาปัตยกรรม ซึ่งระหว่างดำเนินการ โครงการนี้ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหลากหลายสาขา เช่น ด้านสถาปัตยกรรม กฎหมาย และความพิการ แนวคิดการออกแบบสถาปัตยกรรมและการออกแบบเพื่อทุกคนถูกนำมาศึกษา เพราะแนวคิดทั้งสองเกี่ยวข้องกับการออกแบบเพื่อผู้พิการโดยตรง จากนั้นแนวคิดการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในแต่ละขั้นตอนของการดำเนินโครงการและกำหนดวิธีการวิจัย เนื่องด้วยการทำงานร่วมกันจากคนที่ต่างความเชี่ยวชาญในโครงการนี้เป็นสิ่งจำเป็น ในด้านการประเมินการเรียนรู้ นอกจากผู้สอนแล้วแต่ละขั้นตอนถูกประเมินโดยผู้ที่เกี่ยวข้องที่แตกต่างกัน เช่น คนพิการ ตัวแทนภาครัฐ และช่างก่อสร้าง เป็นต้น เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์ที่ได้จากการพบปัญหาจริง ซึ่งนักศึกษาสถาปัตยกรรมได้เรียนรู้จากความต้องการของผู้ใช้สอยจริงและจัดการกับบทเรียนด้านการออกแบบจนสำเร็จได้ด้วยประสบการณ์ถ่ายทอดจากของจริง | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | บ้านอยู่ดี | en_US |
dc.subject | การออกแบบอย่างมีส่วนร่วม | en_US |
dc.subject | การออกแบบเพื่อทุกคน | en_US |
dc.subject | คนพิการ | en_US |
dc.subject | การบูรณาการ | en_US |
dc.title | บ้านอยู่ดี การบูรณาการเรียนรู้สถาปัตยกรรมผ่านโครงการบริการวิชาการรับใช้สังคม | en_US |
dc.title.alternative | UD home: Architectural learning integration through social service project | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.