Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66274
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุมาวลี จินดาพลen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:25Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:25Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.citationเจ-ดี : วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม 5, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2561), 82-105en_US
dc.identifier.issn2351-0935en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/jed/article/view/136829/101972en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66274-
dc.descriptionวารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม เป็นวารสาร เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ๆในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการออกแบบสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อม เป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ในการเสนอผลงานทางวิชาการให้แก่ ผู้สนใจ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไป อันจะเป็นการเสริมความเข้มแข็งแก่วงวิชาการและวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมต่อไป วารสารวิชาการการออกแบบสิ่งแวดล้อมเริ่มต้นเผยแพร่เมื่อ พ.ศ.2557 ออกปีละฉบับมาจนถึงปัจจุบันen_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ที่ลักษณะทางสภาพแวดล้อมจะส่งอิทธิพลต่อสุขภาพของผู้ ที่มีอาการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เนื่องจากสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต โครงการวิจัยนี้มุ่งเน้นการศึกษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีผู้ป่วยและเสียชีวิตมากที่สุดในประเทศไทยสูงสุด 4 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจและหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง สำรวจกิจวัตรประจำวันที่ทำเป็นประจำของผู้ป่วยใน 1 สัปดาห์ เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบกับพฤติกรรมที่แนะนำให้ทำในกลุ่มอาการทั้ง 4 กลุ่ม โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์จำานวน 135 ชุด กับผู้ป่วยในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ นำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยแต่ละกลุ่มโรคมาจำลองวิถีชีวิตที่เกิดขึ้นในบ้าน 2 ลักษณะ คือ บ้านพื้นถิ่นและบ้านสมัยใหม่ ผลการศึกษา พบว่า ภายใต้กิจวัตรประจำวันเดียวกันในบ้านทั้ง 2 แบบ กิจกรรมการอยู่อาศัยในบ้านพื้นถิ่นมีการใช้พลังงานจากกิจกรรมของร่างกายมากกว่าการอยู่อาศัยในบ้านสมัยใหม่ โดยการอยู่อาศัยในบ้านพื้นถิ่นสามารถเพิ่มปริมาณกิจกรรมจากกิจวัตร ประจำวันปกติได้อย่างน้อย 43-205 กิโลแคลอรีต่อวัน ซึ่งเท่ากับประมาณร้อยละ 30-87 ของปริมาณพลังงานที่แนะนำให้สูญเสียต่อวัน ในขณะที่บ้านสมัยใหม่สามารถเพิ่มการใช้พลังงานได้เพียง 10-164 กิโลแคลอรีต่อวัน ซึ่งเท่ากับประมาณร้อยละ 7-64 ของปริมาณพลังงานที่แนะนำให้สูญเสียต่อวัน งานวิจัยนี้สรุปได้ว่ามีความเป็นไปได้ที่ลักษณะทางสภาพแวดล้อมจะส่งอิทธิพลต่อสุขภาพของผู้ที่มีอาการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยมีลักษณะปัจจัยทางสภาพแวดล้อมสำคัญ 3 ประการที่มีอิทธิพล คือ การยกระดับพื้นเรือน การวางตำแหน่งห้อง และการแยกพื้นที่การใช้งานen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectสภาพแวดล้อมen_US
dc.subjectโรคไม่ติดต่อเรื้อรังen_US
dc.subjectกิจวัตรประจำวันen_US
dc.titleการสำรวจปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อคนที่มีอาการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังen_US
dc.title.alternativeThe survey of environmental factors influencing people with non-communicated chronic diseasesen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.