Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66271
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorธิป ศรีสกุลไชยรักen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:25Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:25Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.citationเจ-ดี : วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม 5, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2561), 20-43en_US
dc.identifier.issn2351-0935en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/jed/article/view/136792/101957en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66271-
dc.descriptionวารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม เป็นวารสาร เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ๆในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการออกแบบสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อม เป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ในการเสนอผลงานทางวิชาการให้แก่ ผู้สนใจ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไป อันจะเป็นการเสริมความเข้มแข็งแก่วงวิชาการและวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมต่อไป วารสารวิชาการการออกแบบสิ่งแวดล้อมเริ่มต้นเผยแพร่เมื่อ พ.ศ.2557 ออกปีละฉบับมาจนถึงปัจจุบันen_US
dc.description.abstractบ้านไม้พื้นถิ่นถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมและทรัพยากรการท่องเที่ยวที่เป็นเอกลักษณ์ของเชียงคาน แต่ในขณะเดียวกัน ที่ผ่านมาบ้านไม้เก่าถูกขายให้กับนายทุนต่างถิ่น บางหลังโดนรื้อทิ้งเพื่อสร้างอาคาร รูปแบบใหม่ บางหลังถูกปรับเปลี่ยนการใช้งาน ทำให้เกิดการทำลายทุนทางวัฒนธรรมของตนเองอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ นอกจากนี้ยังขาดวิธีการสื่อสารคุณค่าของบ้านไม้พื้นถิ่นให้ทั้งนักท่องเที่ยวรวมถึงคนในชุมชนเองได้รับรู้ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มาเยือนเชียงคานเพียงเพื่อถ่ายรูปกับบ้านเก่าแล้วก็กลับโดยไม่ได้เรียนรู้คุณค่าแท้ของเชียงคาน สถานการณ์เช่นนี้จะนำไปสู่การล่มสลายของวัฒนธรรมและการเป็นแหล่งท่องเที่ยว การศึกษาคุณค่าบ้านไม้พื้นถิ่นเชียงคานเพื่อการอนุรักษ์ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม เริ่มต้นจากการศึกษาคุณค่าของบ้านไม้พื้นถิ่นเชียงคาน และร่วมเรียนรู้กับชุมชน นำไปสู่การคัดเลือกบ้านไม้ที่เหมาะสมจำนวน 2 หลัง เพื่อนำมาสร้างตัวอย่างของการอนุรักษ์และพัฒนาให้เกิดเป็นแหล่งเรียนรู้ในลักษณะพิพิธภัณฑ์มีชีวิต ตลอดจนลงมือลงแรงอนุรักษ์ร่วมกันผ่านกิจกรรม โฮมแฮง โดยชาวชุมชนและผู้เกี่ยวข้องจำนวนกว่า 60 คน ส่งผลให้ชาวชุมชนเชียงคานมีความต้องการอนุรักษ์และพัฒนาบ้านไม้พื้นถิ่นเพื่อสร้างเป็นแหล่งเรียนรู้ในลักษณะนี้ขึ้นอีกหลายแห่ง รวมถึงบ้านที่มีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าเรียนรู้ เช่น ผ้านวม การจักสาน การประมง อาหารท้องถิ่น เป็นต้น เพื่อประโยชน์ของเมืองเชียงคาน ทั้งในด้านการสืบสานมรดกวัฒนธรรม และในด้านการสร้างผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวแบบสร้างสรรค์en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectบ้านไม้พื้นถิ่นen_US
dc.subjectการอนุรักษ์อย่างมีส่วนร่วมen_US
dc.subjectพิพิธภัณฑ์มีชีวิตen_US
dc.titleการศึกษาคุณค่าบ้านไม้พื้นถิ่นเชียงคานเพื่อการอนุรักษ์ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมen_US
dc.title.alternativeA study of value of Chiang Khan wooden houses for conservation by participatory processen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.