Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66266
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ศนิ ลิ้มทองสกุล | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-08-21T09:18:25Z | - |
dc.date.available | 2019-08-21T09:18:25Z | - |
dc.date.issued | 2561 | en_US |
dc.identifier.citation | เจ-ดี : วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม 5, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2561), 2-19 | en_US |
dc.identifier.issn | 2351-0935 | en_US |
dc.identifier.uri | https://www.tci-thaijo.org/index.php/jed/article/view/136791/101950 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66266 | - |
dc.description | วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม เป็นวารสาร เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ๆในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการออกแบบสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อม เป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ในการเสนอผลงานทางวิชาการให้แก่ ผู้สนใจ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไป อันจะเป็นการเสริมความเข้มแข็งแก่วงวิชาการและวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมต่อไป วารสารวิชาการการออกแบบสิ่งแวดล้อมเริ่มต้นเผยแพร่เมื่อ พ.ศ.2557 ออกปีละฉบับมาจนถึงปัจจุบัน | en_US |
dc.description.abstract | การเจริญเติบโตทางกายภาพของเมืองอย่างรวดเร็ว การขาดแคลนระบบระบายน้ำฝน ความด้อยประสิทธิภาพของการจัดการระบายน้ำฝนและป้องกันน้ำท่วม เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดน้ำท่วมขังในเมืองหลังฝนตก บทความวิจัยชิ้นนี้มุ่งศึกษาปัญหาและอุปสรรคการจัดการระบายน้ำฝนและป้องกันน้ำท่วมขังในบริบทเมืองที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำและมีการเติบโตทางกายภาพอย่างรวดเร็วว่ามีลักษณะอย่างไร โดยใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขนเป็นกรณีศึกษา การวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้การผสมผสานระหว่างข้อมูลเชิงเอกสารและข้อมูลจากภาคสนามอันได้แก่ การสำรวจพื้นที่และการสัมภาษณ์แบบเจาะจงกับผู้เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่าลักษณะการเกิดน้ำท่วมขังในวิทยาเขตหลังฝนตกขึ้นอยู่กับความสามารถของพื้นที่ในการหน่วงกักเก็บน้ำและลักษณะของระบบระบายน้ำฝนออกจากพื้นที่ สาเหตุของการเกิดน้ำท่วมขังหลังฝนตกมาจากระบบระบายน้ำที่ไม่ต่อเนื่องและแหล่งน้ำธรรมชาติที่หายไปจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินการเกิดพื้นที่ลุ่มต่ำเสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วมขังเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เพื่อสร้างสิ่งปลูกสร้างหรือปรับปรุงภูมิทัศน์ใหม่ การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ทางกายภาพที่ไม่สอดคล้องแนวทางผังแม่บท การลดลงของปริมาณพื้นผิวพรุนน้ำอย่างต่อเนื่อง และการขาดการบูรณาการระหว่างการวางแผนการใช้ที่ดินและการจัดการระบายน้ำฝน ข้อมูลเชิงประจักษ์จากผลการศึกษาสอดคล้องกับผลของงานวิจัยก่อนหน้าหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อปัญหาของการจัดการน้ำฝนและการป้องกันน้ำท่วมขังในเขตเมือง มิใช่เพียงประสิทธิภาพระบบการระบายน้ำเชิงวิศวกรรมเท่านั้นแต่ยังรวมถึงนโยบายและแนวทางการใช้ที่ดิน มหาวิทยาลัยควรพัฒนาข้อมูลพื้นฐานเชิงกายภาพของผังการใช้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้เป็นปัจจุบันเพื่อส่งเสริมการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนสร้างความตระหนักรู้ร่วมกันแก่สาธารณะของความสำคัญในการสงวนรักษาพื้นที่เปิดโล่งพรุนน้ำ ควรมีการจัดรูปองค์กรที่ส่งเสริมให้เกิดกลไกการสื่อสารระหว่างคณะกรรมการพัฒนากายภาพ หน่วยงานวางผังแม่บทและกองยานพาหนะและอาคารสถานที่ เปิดโอกาสให้ข้อมูลไหลเวียนย้อนไปและกลับเพื่อปรับปรุงการดำเนินการระหว่างแผนและการปฏิบัติเพื่อให้ได้แนวทางการจัดการสภาพแวดล้อมทางกายภาพของวิทยาเขตบางเขนที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลง และลดความเสี่ยงจากการเกิดน้ำท่วมขังหลังฝนตกได้ในระยะยาว | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การจัดการน้ำฝนในเมือง | en_US |
dc.subject | น้ำท่วมขังหลังฝนตก | en_US |
dc.subject | ความเสี่ยงจากการเกิดน้ำท่วมขังหลังฝนตก | en_US |
dc.subject | การจัดรูปองค์กรเพื่อจัดการระบายน้ำฝน | en_US |
dc.title | ปัญหาและอุปสรรคการจัดการระบายน้ำฝนในบริบทเมืองที่มีการเติบโตทางกายภาพอย่างรวดเร็ว: กรณีศึกษาพื้นที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน | en_US |
dc.title.alternative | Impediments and hindrances for urban runoff management in the context of rapid urban growth:a case study of Kasetsart University, Bangkhen Campus | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.