Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66265
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | พีรยา คงรอด | en_US |
dc.contributor.author | เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย | en_US |
dc.contributor.author | เบ็ญจวรรณ พุทธิอังกูร | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-08-21T09:18:25Z | - |
dc.date.available | 2019-08-21T09:18:25Z | - |
dc.date.issued | 2562 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 46, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2562), 131-141 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-0078 | en_US |
dc.identifier.uri | https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/197198/137178 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66265 | - |
dc.description | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพบริการพยาบาลในหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นก่อนกับหลังใช้โปรแกรมพัฒนาการทำงานเป็นทีมระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ได้ขนาดตัวอย่างจากตารางอำนาจการทดสอบ จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมพัฒนาการทำงานเป็นทีม คู่มือการทำงานเป็นทีม แผนการสอน และ แบบสอบถามการรับรู้คุณภาพบริการพยาบาลในหอผู้ป่วย คุณภาพเครื่องมือความตรงเชิงเนื้อหาได้ค่า 0.92 ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงแอลฟาของครอนบาคด้านความรู้การทำงานเป็นทีมเท่ากับ 0.95 ใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติอ้างอิง (Paired t-test, Independent t-test) ผลการวิจัยพบว่า หลังการเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มทดลองมีการรับรู้คุณภาพบริการพยาบาลในระดับมากที่สุด ( = 4.59, SD = 0.23) ส่วนกลุ่มควบคุม มีระดับความรู้ปานกลาง ( =3.40, SD = 0.28) และพบว่ากลุ่มทดลองมีการรับรู้คุณภาพการพยาบาลสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมพัฒนาการทำงานเป็นทีมทำให้กลุ่มทดลองมีการรับรู้คุณภาพบริการพยาบาลในหอผู้ป่วยมากกว่ากลุ่มควบคุม โดยเฉพาะด้านการอำนวยความสะดวกการบริการ การตอบสนองต่อผู้รับบริการ การให้ความมั่นใจรวมทั้ง การดูแลเอาใจใส่ และความน่าเชื่อถือซึ่งเป็นคุณภาพบริการที่โรงพยาบาลเอกชนมุ่งเน้น ดังนั้นผลการวิจัยนี้มีนัยว่าผู้นำในองค์กรการพยาบาลโรงพยาบาลเอกชนทุกหอผู้ป่วยควรมีการพัฒนาการทำงานเป็นทีมกับผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นเพื่อให้พยาบาลมีคุณภาพการบริการพยาบาลที่ดีต่อผู้รับบริการและต่อองค์กร | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การทำงานเป็นทีม | en_US |
dc.subject | ผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น | en_US |
dc.subject | คุณภาพบริการพยาบาลของหอผู้ป่วย | en_US |
dc.subject | โรงพยาบาลเอกชน | en_US |
dc.title | ผลของโปรแกรมการทำงานเป็นทีมต่อคุณภาพบริการพยาบาลของหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นที่โรงพยาบาลเอกชนระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่ง | en_US |
dc.title.alternative | The Effect of the Team Work Program on Nursing Service Quality of the Ward as Perceived by First-Line Nurse Manager at a Secondary Private Hospital | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.