Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66252
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจิรานันท์ สุริยะen_US
dc.contributor.authorศิวพร อึ้งวัฒนาen_US
dc.contributor.authorวราภรณ์ บุญเชียงen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:24Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:24Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 46, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2562), 47-58en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/197100/137085en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66252-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractภาวะสมองเสื่อมกำลังเป็นปัญหาที่สำคัญทางสาธารณสุขที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุทั่วโลก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุ และศึกษาความเป็นไปได้ของแผนการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมสนผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มตัวอย่างในระยะวิเคราะห์สถานการณ์ คือ พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่รับผิดชอบงานดูแลผู้สูงอายุ เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานผู้สูงอายุในฝ่ายสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ดูแลผู้สูงอายุ อาสาสมัครสาธารณสุขที่มีความเชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้สูงอายุ ประธานชมรมผู้สูงอายุ ผู้นำชุมชน รวมทั้งสิ้นจำนวน 27 คน 2) กลุ่มตัวอย่างในระยะดำเนินงานและระยะประเมินผล คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุ จำนวน 27 คน และผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 57 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แนวคำถามการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถามความเป็นไปได้ของการใช้แผนการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุ โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความเป็นไปได้ของการใช้แผนการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุ เท่ากับ 0.92 การศึกษาครั้งนี้ใช้แนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชนของ (Cohen & Uphoff, 1980) มีการดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ ระยะดำเนินงาน และระยะประเมินผล การพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุทำให้ได้แผนการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุ และความเป็นไปได้ของการใช้แผนการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุมีความเห็นว่า แผนการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลนี้สามารถใช้ได้ง่าย ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติมีความชัดเจน (เป็นที่เข้าใจตรงกัน) ความเหมาะสมที่จะให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุนำไปใช้ มีความประหยัดในด้านไม่เสียค่าใช้จ่ายในการคัดกรอง ความประหยัดเวลาในการคัดกรอง และมีความเป็นไปได้มีที่จะนำแผนการพัฒนาศักยภาพไปใช้ในทางปฏิบัติกับผู้ดูแลผู้สูงอายุ อยู่ในระดับมาก ในส่วนของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการมีความเห็นว่าแผนการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลนี้มีความเหมาะสมที่จะให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุนำไปใช้อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 60 และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติมีความชัดเจนอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 70 ผลการวิจัยในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าควรให้มีการนำแผนการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุนี้สู่ขั้นตอนการนำไปปฏิบัติจริงแก่ผู้ดูแลผู้สูงอายุและติดตามประเมินผลต่อไปen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการพัฒนาศักยภาพen_US
dc.subjectผู้ดูแลen_US
dc.subjectการมีส่วนร่วมของชุมชนen_US
dc.subjectการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมen_US
dc.subjectผู้สูงอายุen_US
dc.titleการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุen_US
dc.title.alternativeDevelopment of Caregiver Capacity by Community Participation in Screening for Dementia among Older Personsen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.