Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66241
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอ้อมทิพย์ น้อยหมอen_US
dc.contributor.authorนงเยาว์ เกษตร์ภิบาลen_US
dc.contributor.authorจิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:24Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:24Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 46, 1 (ม.ค.-มี.ค. 2562), 137-148en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/180849/128348en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66241-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในเด็ก ผู้ปกครองจึงควรมีพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันที่ถูกต้องเหมาะสม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลัง เพื่อศึกษาผลของการส่งเสริมแรงจูงใจในการป้องกันโรคต่อพฤติกรรมของผู้ปกครองในการป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันของเด็ก โดยศึกษาระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ผู้ปกครองของเด็กก่อนวัยเรียนที่ได้รับการดูแลในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 แห่ง ในเขตอำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย จำนวน 52 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 26 ราย โดยกลุ่มทดลองจะได้รับการส่งเสริมแรงจูงใจในการป้องกันตามแนวคิดของโรเจอร์สและกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการส่งเสริมแรงจูงใจในการป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันในเด็ก แบบสอบถามการรับรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันในเด็กและแบบสอบถามการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันในเด็ก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติไคส์-สแควร์ สถิติฟิชเชอร์ และสถิติทดสอบทีผลการวิจัย พบว่าภายหลังได้รับการส่งเสริมแรงจูงใจในการป้องกันโรค กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ผลการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าการส่งเสริมแรงจูงใจในการป้องกันโรคช่วยให้ผู้ปกครองมีพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันในเด็กเพิ่มมากขึ้น วิธีการดังกล่าวอาจนำไปประยุกต์ใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันในเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอื่นได้en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectแรงจูงใจในการป้องกันen_US
dc.subjectการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันen_US
dc.subjectผู้ปกครองen_US
dc.titleผลของการส่งเสริมแรงจูงใจในการป้องกันโรคต่อพฤติกรรมของผู้ปกครองในการป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันของเด็กen_US
dc.title.alternativeEffect of Protection Motivational Enhancement on Parents’ Behaviors in Preventing Acute Respiratory Tract Infections of Childrenen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.